การบริหารงานวิชาการและการพัฒนาระบบบริหารจัดการ การสร้างสื่อการเรียนประเภทภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติเรื่อง วันออกพรรษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยชัน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

สื่อการเรียนประเภทภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติ, วันออกพรรษา, การออกแบบการสอนพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยการสร้างสื่อการเรียนประเภทภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติ เรื่อง วันออกพรรษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างสื่อการเรียนประเภทภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติเรื่องวันออกพรรษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยชัน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2)เสริมสร้างการเรียนรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการดำเนินการวิจัย แบ่งออกได้เป็น 3 กระบวนการหลักคือ 1) กระบวนการในการสร้างภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติ 2) กระบวนการสร้างแบบประเมินสื่อการเรียนประเภทภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติ 3) กระบวนการดำเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบางพลัด จำนวน 30 คน ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

           ผลการวิจัยพบว่า ประเมินหาคำความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ซึ่งผลการประเมินแบ่งออกเป็น 2 ด้านด้วยกัน อันได้แก่1) ด้านการ์ตูนแอนิเมชั่น มีค่าเฉลี่ย 4.63 และคำส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.452) ด้านแบบฝึกหัด มีค่าเฉลี่ย 4.83 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.36 โดยสรุปผลจากการประเมินได้ว่า สื่อการเรียนประเภทภาพยนตร์การ์ตูน 2 มิติเรื่อง วันออกพรรษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยชัน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่สร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างดี

Author Biography

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ

นนทบุรี

References

ชญานิน อุประ, ประภา พรต๊ะดง, ศิริกรณ์ กันขัติ์. (2566). การพัฒนาสื่อการสอนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องแม่ฮ่องสอนเมืองสามหมอก. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ ชุมชน, 1(1), 48-59.

ชัยณรงค์ บุญชื่น, ธีรศักดิ์ เชื้อหนองควาย, ศิริกรณ์ กันขัติ์. (2566). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้3 มิติผ่านเมตา

เวิร์สกรณี ศึกษาคลองแม่ข่า. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(2), 27-35.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). การจัดการเรียนการสอนผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง “พุทธศาสนสุภาษิต” ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าคอย(สกุณอุปถัมภ์). วารสารวิชาการสังคมมนุษย์, 13(1), 84-99.

________. การพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนการสอนสื่อดิจิทัลด้วยการสอนบน Padlet วิชาภาษาไทยเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นไทย ชั้นประถมกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบางบอน พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 35(2), 102-120.

________. นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบโมไบล์เลิร์นนิง เรื่อง แหล่โบราณสถานบริเวณเมืองเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีวิทยาโดยใช้โปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse). วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 15(1), 119-133.

________. นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาสื่อการเรียนรู้ เรื่องระบบสุริยะ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคลองขวางจังหวัดตราด. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 26-38.

________. นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ของครูในกลุ่มสาระสังคมศึกษาเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านสงาวสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มมร. วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 3(1), 70-77.

ตนเอง จิราศักดิ์ นนทะแก้ว (2566). การศึกษาแนวทางและรูปแบบการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับนักเรียนนายสิบตำรวจ รุ่นที่ 11 ของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1. วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์, 4(1), 53-62.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2558). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์: ตักสิลาการพิมพ์.

วราพร ดำจับ (2566). การออกแบบสื่อแอนิเมชันเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุมชลบุรี, 9(1), 1-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-12