แนวทางการพัฒนาทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนไชยวัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พัชริยา สุดจะคอย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สิน งามประโคน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะผู้นำ, ศตวรรษที่ 21, หลักสัปปุริสธรรม 7

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนไชยวัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนไชยวัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนไชยวัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครู จำนวน 189 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารจำนวน  9 รูป/คน ด้วยการเลือกเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการความยุติธรรมในองค์กร ด้านบุคลิกภาพ ด้านความอัจฉริยะทางอารมณ์ ด้านการเรียนรู้และพัฒนา ตามลำดับ 2. วิธีการพัฒนาทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนไชยวัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1) การบริหารองค์กรด้วยกฎหมาย เพื่อสร้างความยุติธรรมในองค์กร (ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ) ซึ่งสะท้อนถึงการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน (ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน) 2) กำหนดยุทธศาสตร์อัตรากำลังบุคลากร (อัตถัญญุตา รู้จุดมุ่งหมาย) ที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ (อัตตัญญุตา รู้จักตน) 3) สนับสนุนการพัฒนาแนวคิดเดิม และส่งเสริมด้วยข้อมูลที่น่าเชื่อถือ (มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ) รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต        (กาลัญญุตา รู้จักกาล) และ 4) สามารถบริหารจัดการภาวะความกดดันทางอารมณ์และมีบุคลิกลักษณะโดดเด่น (ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล) 3. แนวทางการพัฒนาทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนไชยวัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ 1) การจัดการความยุติธรรมในองค์กร (O: Organizational justice) ด้วยข้อมูลพื้นฐานด้านกฎหมายเพื่อสร้างความยุติธรรม (ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ) และให้โอกาสทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น (ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน) 2) บุคลิกภาพ (C: Character) กำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาบุคลากร (อัตถัญญุตา รู้จุดมุ่งหมาย) สร้างจิตสำนึกและทักทายด้วยไมตรีจิต (อัตตัญญุตา รู้จักตน) 3) การเรียนรู้และพัฒนา (D: Development) อัตรากำลังคนสอดคล้องนโยบายการพัฒนาองค์กร (มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ) รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (กาลัญญุตา รู้จักกาล) และ 4) อัจฉริยะทางอารมณ์ (E: Emotional intelligence) สามารถบริหารจัดการภาวะความกดดันทางอารมณ์ได้ (ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล)

References

Jirayu Srisangachai. (2022). Strategic leadership in the 21st century of school administrators that affects the performance motivation of teachers under Roi Et Primary Educational Service Area Office 2. Research Journal, 5(2), 60.

Natthawat Longthong. (2024). Adapting to change in the 21st century. Retrieved from http://portal.nurse.cmu.ac.th/fonoffice/adminoffice/DocLib/2021.pdf

Pranee Munkhetwit. (2012). Guidelines for developing personnel characteristics in local administrative organizations Sai Ngam District Kamphaeng Phet Province. (Master's Thesis Local Government). Graduate School: Kamphaeng Phet Rajabhat University.

Rangsit Lothaisong. (2010). Community Justice Process: Paradigm and Process for Strengthening a Just Society. (Master's Thesis Department of Administrative Sciences). Graduate School: Maejo University.

Sanook Singmat. (2024). Leadership characteristics of corporate executives in the 21st century. Retrieved from chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://gs.rmu. ac.th/grc 2017/fullpaper/file/PS-O-01.pdf

Surasak Pahay. (2013). Teacher professional development into the era of educational reform in the second decade. Academic Seminar Documents Development of the entire teacher system according to the 2nd decade education reform strategy. Phrae: Phrae Primary Educational Service Area Office 1-2.

Surat Klanprasert. (2010). Administrative Leadership by Application of the Seven Sappurisadham Principles, Case Study of True Corporation Public Company Limited. (Master's Thesis Sangha Management Branch). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Suwithida Charungkiattikul. (2024). Learning skills in the 21st century (The Twenty-First Century Skills). Retrieved from https://www.trueplookpanya.com/education/ content/66054

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-02

How to Cite

สุดจะคอย พ., ภูริปญฺโญ พ. ., & งามประโคน ส. (2025). แนวทางการพัฒนาทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนไชยวัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, 10(1), 15–25. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6721