การบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสำหรับการดำเนินชีวิต

ผู้แต่ง

  • พระครูสุเขตพัชรคุณ มิ่งขวัญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, ฆราวาสธรรม, โลกาภิวัตน์, การดำเนินชีวิต, สังคมไทย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสำหรับการดำเนินชีวิตในบริบทของสังคมปัจจุบัน ซึ่งอยู่ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางสังคมและวิถีชีวิตของผู้คนอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ที่ทำให้สังคมไทยต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในระบบประชาธิปไตย วิกฤตเศรษฐกิจ การครอบงำทางวัฒนธรรม ตลอดจนอิทธิพลของระบบสารสนเทศไร้พรมแดน ในบริบทดังกล่าว การบูรณาการหลักฆราวาสธรรม ได้แก่ สัจจะ (ความจริงใจและซื่อตรง) ทมะ (การควบคุมตนเอง) ขันติ (ความอดทน) และ จาคะ (การเสียสละ) ถือเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวและสร้างสมดุลท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หลักสัจจะช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจและความซื่อตรงในสังคม หลักทมะส่งเสริมการมีวินัยและการรู้จักควบคุมตนเอง หลักขันติช่วยให้บุคคลสามารถอดทนและเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายได้อย่างมั่นคง ขณะที่หลักจาคะส่งเสริมการเสียสละและการแบ่งปัน ซึ่งช่วยลดความเห็นแก่ตัวและสร้างความสามัคคีในสังคม การนำหลักฆราวาสธรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันไม่เพียงแต่ช่วยให้บุคคลสามารถรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีสติและสมดุล แต่ยังส่งเสริมให้เกิดความสุขทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และสังคมโดยรวม อันจะนำไปสู่การสร้างสังคมที่เข้มแข็งและยั่งยืนท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็วในยุคปัจจุบัน

References

Kanokwan Ananthasathorn. (2019). Social changes and their impact on family relationships in Thai society. Journal of Social Sciences and Humanities, 34(2), 45-59.

Kanokwara Puangpramong and Sanit Noonal. (2018). Modern Thai rural society and the factors influencing lifestyle. Journal of Social Science and Sociology, 34(2), 45-59.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). The Thai Tripitaka: The edition of Mahachulalongkornrajavidyalaya. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing House.

Patcharaporn Duangchuen. (2018). Organizational leadership in the VUCA world. Christian University Journal, 24(3), 450-458.

Phra Maharingkray Takla. (2013). Lay Buddhist principles in Lanna scriptures: "Eight Days of Growth." Master's Thesis in Arts, Chiang Mai University.

Phra Nathawut Phantalay. (2020). Social change in the 21st century. Academic Journal of Buddhism in the Mekong River Basin, 3(2), 44-55.

Phrakruopassaratikhun (Chatrri Asapho) and colleagues. (2021). The Philosophy of Life and the New Way of Life. Mahachulalongkornrajavidyalaya University Journal of Phutthasothorn Paritran, 1(2), 108-124.

Phrapaiphap Phutthadhammakhaya Temple Publishing House. (2019). Study guide on the Tripitaka: Master's Level (20th ed.). Nakhon Pathom: Metta Printing Co., Ltd.

Phrathammapidok (P. A. Payutto). (2003). A dictionary of Buddhist terms: A compendium. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing House.

Prakit Kijjaruwattanakul. (2008). Applying Buddhist principles to solve family problems in contemporary society. Master's Thesis in Buddhist Studies, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Prasit Wongsrithep and colleagues. (2019). The principles of lay Buddhist practice and their application to life development for householders. Dharmatrathan Academic Journal, 19(3), 265-273.

Somdejphramahavirawong (Phim Dhammatharo). (1987). Mongkhon Yod Chiwit Chabap Somboon. Bangkok: Thammasapha.

Srisakorn Vallipodom. (2025). Thai society and the changing human condition. Retrieved February 27, 2025, from https://lek-prapai.org/home/view.php?id=943

Thassanee Thongsawang. (1994). Thai society. Bangkok: Department of Sociology, Faculty of Social Sciences, Srinakharinwirot University, Prasanmit.

Wannaporn Anantawong and colleagues. (2018). The way of life and identity of the Kiriwong community. Proceedings from the 9th Hat Yai National and International Academic Conference, Hatyai University, 27-41.

Warinthorn Phanfuenfu. (2022). Learning life skills under the new normal. Research Journal of Ratchaburi Rajabhat University, 9(2), 149-158.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-02

How to Cite

มิ่งขวัญ พ. (2025). การบูรณาการหลักฆราวาสธรรมสำหรับการดำเนินชีวิต. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, 10(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6848