การสื่อสารพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่เพื่อการบรรเทาทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 : กรณีศึกษาพระนักเผยแผ่ใน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • จตุรัส สุนุรัตน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระราชวัชรธรรมวาที มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญเลิศ โอฐสู มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสื่อสารพุทธธรรม, พระนักเผยแผ่, ภาวะวิกฤต, หลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ เรื่องการสื่อสารพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่เพื่อบรรเทาทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19: กรณีศึกษาพระนักเผยแผ่ อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาบทบาทของพระนักเผยแผ่ ในการบรรเทาความทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19  2. เพื่อศึกษาวิธีการสื่อสารและพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่และความรู้สึกที่มีต่อการสื่อสารที่ทำให้ชาวบ้านบรรเทาจากความทุกข์ได้ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนา การสื่อสารพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่ในการบรรเทาความทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเผยแผ่พุทธธรรม 3 รูป/คน พระนักเผยแผ่ในอำเภอขามสะแกแสง 7 รูป และประชาชนในอำเภอขามสะแกแสง 7 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา

              ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่เพื่อการบรรเทาทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 ของพระนักเผยแผ่อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมานั้น พระนักเผยแผ่มีบทบาทในการบรรเทาความทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 คือ 1. บทบาทด้านการเยียวยาทางด้านจิตใจ 2. บทบาททางด้านสาธารณสงเคราะห์ บทบาทหน้าที่ของพระนักเผยแผ่ที่ได้กล่าวมาในข้างต้นทั้งสองด้านเป็นบทบาทหน้าที่ที่มีความเชื่อมโยงและมีความเกื้อหนุนกันอย่างเห็นได้ชัด ในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 ผู้คนในสังคมต่างได้รับผลกระทบทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้พระภิกษุสงฆ์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ของชาวบ้าน การนำเอาพุทธธรรมมาใช้ในการบรรเทาความทุกข์ของชาวบ้าน ถือว่าเป็นบทบาทหน้าที่หลักของพระนักเผยแผ่ในการช่วยเหลือทางด้านสาธารณสงเคราะห์ ที่พระนักเผยแผ่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ ได้ส่งผลอนุเคราะห์ให้การทำหน้าที่ในส่วนการเผยแผ่พุทธธรรมนั้นมีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น

              วิธีการสื่อสารและพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่และความรู้สึกที่มีต่อการสื่อสาร ที่ทำให้ชาวบ้านบรรเทาจากความทุกข์ได้นั้น พบว่า พระนักเผยแผ่ที่ทำหน้าที่ในการเผยแผ่พุทธธรรม ต้องมีความเข้าใจในกระบวนการสื่อสารตามทฤษฎีการสื่อสารแบบตะวันตก และพุทธวิธีการสื่อสารพุทธธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วนำมาประยุกต์ปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการบรรเทาทุกข์ของชาวบ้าน โดยยึดเอาองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารเป็นหลัก คือ 1.)  ผู้ส่งสารที่ดีด้วยมีสัปปุริสธรรม 7  2) เนื้อหาสาระของสาร ต้องมีคุณลักษณะ สัจะ ตถตา กาล ปิยะ อัตถะ ในหัวข้อธรรมคือ อริยสัจ 4 สังคหวัตถุ 4 และพละ 4  3) ช่องทางในการสื่อสารที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยเลือกใช้แอพพลิเคชั่น ที่เรียกว่า ไลน์ และเฟชบุ๊ก เป็นต้น 4) กลุ่มผู้รับสารที่มีความพร้อมในการรับข้อมูล เป็นผู้ที่มีทักษะการสื่อสารที่ดี มีความเข้าใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน มีทัศนคติที่ดีต่อพระนักเผยแผ่ และมีพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่เหมือนกันกับพระนักเผยแผ่

              สำหรับแนวทางการพัฒนาการสื่อสารพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่ในการบรรเทาทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด- 19 มีองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารข้างต้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสื่อสารที่พระนักเผยแผ่จะต้องคำนึงถึงและนำมาใช้ในการออกแบบกระบวนการสื่อสารให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร เพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาการสื่อสารพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่ในการบรรเทาทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในสังคม เพื่อจะเป็นการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับชาวบ้าน และยังเป็นการสืบทอดอายุของพระพุทธศาสนาอันเป็นหน้าที่หลักของพระนักเผยแผ่สืบไป 

References

Bangkok Business. “What is the 'New Normal'? How COVID-19 Pushes Us Towards a 'New Normal Life”. [Online]. Retrieved: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/882508.

Busaba Sutithorn. (2020). Crisis Communication Management in an Unclear, Complex, and Ambiguous World. Journal of Administrators, Vol. 40, No. 2 (July-December).

David K. Berlo. (1960). The Process of Communication: An Introduction to Theory and Practice. (New York: holt, Rinehart and Winston)

National Health Commission Office. “The Monk Constitution: Uniting the Power of the Sangha to Fight the COVID-19 Crisis”. [Online]. Retrieved: https://www.nationalhealth.or.th/en/ node/1381.

Norapan Thongchueam. COVID-19: When a Physical Pandemic Affects the Mind. [Online]. Retrieved: https://thestandard.co/covid-19-physical-disease-impact-mental-health/

Parliament Library. Emergency Decree on Public Administration in Emergency Situations B.E. 2005. [Online]. Retrieved: https://library.parliament.go.th/th/radioscript/filterby/2563.

Phra Kru Vinai Thon Chakri Srijarumethi Yann, Sanya Kenaphumi, Wittaya Charoensri. (2016). The Role of Thai Monks in the Globalized Society. Santi-Science Review Journal, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Vol. 4, No. 1 (January-June).

Phra Maha Seksarn Sukkhamo, Phra Maha Sunan Sunno, Phra Palad Rapin Phutthisarro. (2020). Innovation in the Dissemination of Buddhism by the Sangha of Udon Thani Province. Santi-Science Review Journal, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Vol. 8, No. 4, (July-August).

Phra Nattawat Tangpathomwong, Dr. (Yanappo). (2021). Communication in Crisis Situations of the Impact from New Virus Strains: The Role of Buddhism. Journal of Business Administration and Arts, Rajamangala University of Technology Lanna. Vol. 9, No.1 (January-June).

Phrasredhammaphanee (Wullap Govilo / Horawichit). (2016). The Development of Sermons by the Buddha and His Disciples: A Case Study of the Sermons at Wat Prayurawongsawas. Doctoral Thesis in Buddhist Studies. (Graduate School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University)

Sanya Rattanasoi. Matichon Online. “The Paradox of Power in the World of Wuga”. [Online]. Retrieved: https://www.matichon.co.th/newsroom-analysis/news_977635.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-02

How to Cite

สุนุรัตน์ จ., พระราชวัชรธรรมวาที, & โอฐสู บ. . (2025). การสื่อสารพุทธธรรมของพระนักเผยแผ่เพื่อการบรรเทาทุกข์ของชาวบ้านในภาวะวิกฤตโรคโควิด-19 : กรณีศึกษาพระนักเผยแผ่ใน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, 10(1), 121–136. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/6973