ไตรสิกขาในสามัญญผลสูตร: ในฐานะเป็นพุทธนวัตกรรมการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ผู้แต่ง

  • พระสมุห์ประเสริฐชัย แซ่อึ้ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญเลิศ โอฐสู มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ไตรสิกขา, พุทธนวัตกรรมการสื่อสาร, การเรียนรู้ด้วยตนเอง, แอปพลิเคชันธรรมะ

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาเรื่องไตรสิกขาในสามัญญผลสูตรเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) เพื่อนำเสนอไตรสิกขาในสามัญญผลสูตร: ในฐานะเป็นพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นบทความที่ได้ศึกษาเชิงคุณภาพ เน้นการศึกษาเอกสาร โดยเก็บข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำรา หนังสือ งานวิจัยและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า

  1. เนื้อหาเรื่องไตรสิกขาในสามัญญผลสูตร เป็นพุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่สามารถศึกษาผ่านแอปพลิเคชัน เป็นแนวทางใหม่ที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมดุลและครบถ้วนตามหลักพระพุทธศาสนา เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการกระจายองค์ความรู้และปลูกฝังหลักธรรมให้กับเยาวชนในยุคดิจิทัล การนำไตรสิกขามาประยุกต์ใช้ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสาระสำคัญของพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น และเกิดประโยชน์สูงสุดในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นเป็นหลัก ผู้เรียนสามารถวางแผน จัดกระบวนการเรียนรู้ และกำหนดแนวทางการศึกษาของตนเองให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเป็นการแสวงหาความรู้ที่ทำให้บุคคลสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ มีความกระหายใครรู้ และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องมีโครมาบังคับ
  2. ไตรสิกขาในสามัญญผลสูตร: ในฐานะเป็นพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองสามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่สื่อสารหลักไตรสิกขาได้อย่างถูกต้องและน่าสนใจเป็นความท้าทายที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมและการออกแบบสื่อที่ดี การสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเข้ามาเรียนรู้และปฏิบัติธรรมตามหลักไตรสิกขาเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบแอฟพลิเคชัน

References

Chanthet, P., & Tangwanwit, S. (2020). Development of an application for depression monitoring and suicide risk assessment. In The 16th National Conference on Computer and Information Technology (NCCIT 2020) (pp. 192–197). Bangkok: King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Chantra, D. (2020). Application of AppSheet to develop a mobile app for teaching volleyball referee signals to fourth-year students in physical education. Journal of Academic Studies, Sisaket Rajabhat University, 14(1).

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). The Thai Tipitaka: Mahachulalongkornrajavidyalaya University edition. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.

Ngaorangsee, C. (2017). Vetala cartoon tales as a medium for moral and ethical instruction. Khon Kaen University International Journal of Humanities and Social Sciences, 7(2).

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2015). Dictionary of Buddhism: Dhamma Compilation Edition (31st ed.). Bangkok: Palittham.

Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (1999). Buddhist teaching methodology. Bangkok: Boekman Publishing.

Thongdee, W. (2012). Human and learning process based on Buddhism. Journal of Graduate Studies Perspectives, Khon Kaen Campus, 8(3), 37–48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-02

How to Cite

แซ่อึ้ง พ., & โอฐสู บ. . (2025). ไตรสิกขาในสามัญญผลสูตร: ในฐานะเป็นพุทธนวัตกรรมการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, 10(1), 193–203. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/basj/article/view/7277