แนวทางการป้องกันพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนตามหลักอริยสัจ 4 กลุ่มโรงเรียนเมืองชัยพระเจ้าตากสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
คำสำคัญ:
แนวทางการป้องกัน, พฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์, หลักอริยสัจ 4บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียน 2) เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนตามหลักอริยสัจ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียน ตามหลักอริยสัจ 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 85 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 ท่าน เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียน ตามหลักอริยสัจ 4 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียน กลุ่มโรงเรียนเมืองชัยพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 อยู่ในระดับมาก โดยมีการใช้เพื่อการบันเทิงและการสื่อสาร มากกว่าการใช้เพื่อการศึกษา ปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ปรากฏกับนักเรียน คือ นักเรียนใช้สื่อสังคมออนไลน์ เป็นระยะเวลานานเกินไป แนวทางแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว คือ การรณรงค์ไม่ให้นักเรียนโพสต์รูปภาพตนเองในลักษณะที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาพหลุด คลิปหลุด หรือโพสต์รูปภาพที่สื่อถึงอบายมุขต่าง ๆ 2. วิธีการป้องกันพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนตามหลักอริยสัจ 4 กลุ่มโรงเรียนเมืองชัยพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 คือ 1) การสร้างความตระหนักรู้ให้นักเรียนรับทราบถึงในสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวนักเรียน จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ 2) แนะนำวิธีวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดสภาพปัญหานั้น ๆ 3) ให้นักเรียนหาแนวทางและวางแผนในการแก้ปัญหาตามสาเหตุดังกล่าว 4) ให้นักเรียนดำเนินการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ และให้คำมั่นในการที่จะไม่ปฏิบัติพฤติกรรมที่จะสร้างปัญหาต่อไป 3. แนวทางการป้องกันพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียน ตามหลักอริยสัจ 4 กลุ่มโรงเรียนเมืองชัยพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 มีดังนี้ 1) การจัดโปรแกรมการอบรมกระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 2) จัดกิจกรรมประกวดการใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิงการศึกษา และสร้างสรรค์ 3) เสริมสร้างการใช้สื่อออนไลน์ ในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาตามหลักสูตรการเรียน และ 4) สร้างเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์เพื่อต่อยอดการศึกษาและการสร้างสรรค์
References
Academic Office, Office of the Secretariat of the House of Representatives. (2024). Educational Provisions under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560, Retrieved from https://lamphuncity.go.th/wp-content/uploads/2020/05.pdf [7 May 2024].
Anna Imjamlong and Wilaiwan Chongwilaikasem. (2013). “Using Facebook as a Communication Channel for Teaching and Learning in Communication Arts”. Journal of Business Communication Arts, 7(2), (January - June 2013), 75-93.
Chitsarinporn Panchawatthanakun. (2018). “Four Noble Truths and Teenagers of 21st Century”. Journal of Philosophy Review, 23(1) (January - June 2018), 2.
National Education Act of 1999. (1999). National Education, (August 1999), 7.
Panjaporn Keonui. (2022). “Social Media Usage Behavior and Social Media Literacy of Students of Chang Klang Prachanukul School, Nakhon Si Thammarat Province”, Mahachulalongkornrajavidyalaya Journal, 9(6) (June 2022), 323.
Phra Phromkunaphon (P.A. Payutto). (2018). Buddhism, 18th printing. Bangkok: Buddha Dharma Foundation.
Phitsamai Hanmongkhonphiphat. (2015). “Online Social Network Usage Behavior of Information Technology Program Students, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus”. Proceedings of the 6th National Hatyai Academic Conference, Hatyai University, (June 2015), 1,490-1,500.
Pipat Atthaput, Thiprat Sitthiwong, and Direk Thiraputhon. (2017). “The Effects of Using Social Media with Active Learning in Computer Graphic Design and Production for Undergraduate Students”. Naresuan University Journal of Education, 19(2), (April - June 2017), 145-154.
Somsak Srisantisuk and Sukanlaya Emeimtham. (2020). “Social Media Usage Behavior of Secondary School Students in Vientiane Capital, Lao People's Democratic Republic”. Journal of Humanities and Social Sciences, 37(2), (May - August 2020), 120-121.
Thitinan Boonpap Common. (2013). “The Role of New Media in Creating Social Values and Identity of Thai Youth in Bangkok”. Research Report. Bangkok: Dhurakij Pundit University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 วารสารพุทธอาเซียนศึกษา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.