การแปรเปลี่ยนความขัดแย้งกับการแก้ไขวิกฤตสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นบทความวิชาการที่สำรวจแนวคิดของการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง (Conflict Transformation) ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่เริ่มต้นเมื่อทศวรรษที่ 1990 ซึ่งเป็นแนวคิดที่พัฒนามาจากการแก้ไขความขัดแย้ง (Conflict Resolution) ทว่าแนวคิดการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งเน้นไปที่ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเรื้อรังขนาดใหญ่ (Large-scale and Protracted Conflict) โดยเป็นการระดมกระบวนวิธีทางสันติวิธีให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียทั้งวงใน วงนอก และผู้ที่มีส่วนในพลวัตแห่งความขัดแย้ง (Dynamic of Conflict) ได้เข้ามาอยู่ในกระบวนการแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้งในเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ เนื่องจากความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเรื้อรังส่วนใหญ่เกิดจากพัฒนาการแห่งความขัดแย้งที่เติบโตขึ้น โดยที่ผู้ที่เข้ามาแก้ไขไม่ได้สนใจการแก้ไขที่รากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง บางครั้งความขัดแย้งชนิดนี้อาจจะซ่อนรูปไว้และสามารถกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งความขัดแย้งหรือวงจรแห่งความขัดแย้งที่สังคมยอมรับได้โดยปริยาย แนวคิดการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งในแต่ละสังคมมุ่งไปที่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติแบบยั่งยืน และกระบวนการออกแบบการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของการมีปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคมที่ยอมรับในมิติความแตกต่างและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างหาจุดพัฒนาต่อไปได้ อาจเรียกว่าเป็นวิถีทางเลือกใหม่ที่สร้างสรรค์ในอนาคตร่วมกัน บทความนี้อธิบายแนวคิดเรื่องการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งในบริบทของแนวคิดและมุมมองการวิเคราะห์ รวมทั้งสะท้อนถึงข้อท้าทายและอุปสรรคต่าง ๆ ของการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในมิติที่ลึก เช่น การทำความเข้าใจกับการให้คุณค่าต่าง ๆ ในสังคม (Value of Thinking) ที่ฝังรากลึกในบริบทสังคม การมีสิทธิเสรีภาพในสังคมประเทศต่าง ๆ ความเหลื่อมล้ำ/ความเท่าเทียมที่เป็นประเด็นถกเถียงของสังคม โดยอธิบายตัวอย่างจากกรณีศึกษาการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งในต่างประเทศและกรณีศึกษาในประเทศไทยประกอบ เพื่อเกิดความเข้าใจในวงวิชาการด้านสันติวิธีอย่างกว้างขวางมากขึ้น
Article Details
References
Abu-Nimer, M. (eds.). (2001). Reconciliation, Justice, and Coexistence: Theory and Practice. Lanham, MD: Lexington Books.
Apornsuwan, T. (2012). The research of Asymmetry of power in society. Bangkok : Truth and Reconciliation Committee.
Aue-amnuy, J. (2002). New Paradigm of Justice System: from Revenge to Reconciliation. the document from Restorative justice: new choice for justice system of Thailand.
Augsburger, D. (1992). Conflict Mediation Across Cultures. Kentucky: Westminster/John Knox Press.
Azar, E. E. (1990). The Management of Protracted Social Conflict: Theory and Cases. Hampshire: Dartmouth Publishing.
Bloomfield, D., & Reilly, B. (1998). The Changing Nature of Conflict and Conflict Management. Stockholm: Institute for Democracy and Electoral Assistance (IDEA).
Curle, A. (1971). Making Peace. London, England. Tavistock.
Galtung, J. (1998). Peace by Peaceful Means: Peace and Conflict, Development and Civilization. London: Sage Publications.
Khannenje, H. (2007). Between Johannesburg and Jerusalem: A comparative Analysis of Non-Violence As A Strategy For Political Change; The Case of Apartheid South Africa and the Occupied Territories of Palestine/Islael. A thesis Submitted to the McAnulty College and Graduate School of Liberal Arts, Duquesne University.
Lederach, J. P. (1995). Conflict Transformation in Protracted Internal Conflicts: The Case for a Comprehensive Network. In Kumar Rupesinghe, ed., Conflict Transformation. New York: St. Martin's Press.
Miall, H. (2004). Conflict Transformation: A Multi-Dimensional Task, in: Berghof Handbook for Conflict Transformation, Online Version.
Miall, H. Ramsbotham, O., & Tom, W. (eds.). (2011). Contemporary Conflict Resolution. 3rd Edition. Cambridge: Polity.
Moore, C. W. (1996). The Mediation Process: Practical Strategies for Resolving Conflict; 2nd edition, pp. 60-61.
Ralf Dahrendorf, Class and Class Conflict in Industrial Society. (Stanford, Calif. : Stanford University Press, 1959). Berghof Handbook for Conflict Transformation, Online Version, www.berghof-handbook.net
Vatthanasapt, V. (2004). Conflict Management: Principle and Tools of Conflict Resolution. Nonthaburi: King Prajadhipok’s Institute.
Väyrynen, R. (1999). From Conflict Resolution to Conflict Transformation: A Critical View. In Ho-Won Jeong, ed., The New Agenda for Peace Research. Brookfield: Ashgate Publishing.