แนวทางพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • สุภัทรา เขียวศรี หลักสูตรการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • โอชัญญา บัวธรรม การจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นันทนา ลาภวิเศษชัย การจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ลินจง โพชารี การจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว, ชุมชนบ้านนาถ่อน, จังหวัดนครพนม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง แนวทางพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ชุมชนบ้านนาถ่อน อำเภอธาตุพนนม จังหวัดนครพนม 2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนบ้านนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) เพื่อสอบถามความคิดเห็นและประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวในชุมชนบ้านนาถ่อน จำนวน 15 คน โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนมีจุดแข็งด้านวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชนเผ่าไทกวน แต่มีจุดอ่อนคือ ที่พักไม่เพียงพอ ขาดการประชาสัมพันธ์ และบุคลากรรุ่นใหม่ด้านการบริหารท่องเที่ยว ส่วนโอกาสภาครัฐสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ขณะที่อุปสรรค คือ การแข่งขันจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นในตัวจังหวัด ผลกระทบจากฤดูกาล และพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป ในส่วนของการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนบ้านนาถ่อนนั้น ชุมชนบ้านนาถ่อนมีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ ส่วนการเดินทางเข้าถึงสะดวก ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมหลัก มีกิจกรรมการท่องเที่ยวมีความหลากหลาย อาทิเช่น การตีเหล็กโบราณ  การทอผ้า จักสาน การทำเกลือสินเธาว์   การนวดสมุนไพร การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการทำอาหารพื้นถิ่น อีกทั้งชุมชนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและถ่ายทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านนาถ่อน จังหวัดนครพนม โดยเน้นการยกระดับสิ่งอำนวยความสะดวกภายในชุมชน อาทิ ห้องน้ำสาธารณะ ร้านอาหาร ที่พัก ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และเส้นทางจักรยาน ควบคู่กับการส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน เช่น ประเพณีท้องถิ่น การประกวดอาหาร และการแสดงดนตรีพื้นบ้าน พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัล และจัดอบรมให้แก่คนในชุมชนด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนสู่ความยั่งยืนในระยะยาว

References

กันตชา ศรีอยุธย์. (2564). การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีบ้านต้นโพธิ์ จังหวัดปทุมธานี เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กัลยา สว่างคง. (2558). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในมุมมองของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำตกในจังหวัดสระบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2558), 10-25. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/7020

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563, สิงหาคม 3). ททท.ชวนคนไทยเที่ยวอีสาน ชูอัตลักษณ์ของดีของเด่นในโครงการ 'เล่าเรื่องภูมิใจ ชุมชนไทย ชุมชนเท่'. แนวหน้า. https://www.naewna.com/likesara/509410

ชมพู โกติรัมย์ และ สุปัญญา จันทร์เพ็ญศรี. (2022). ศึกษาชุมชนท่องเที่ยวโดยฐานทางวัฒนธรรม : ขุมชนเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(1), 141–153. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/252864

ดารณี อาจหาญ, เกิดศิริ เจริญวิศาล และมนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2565). การยกระดับมาตรฐานปลอดภัยด้านสุขอนามัยการท่องเที่ยวที่พักชุมชนวัฒนธรรมยั่งยืนหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(1), 186-204. https://doi.org/10.14456/lartstu.2022.9

ทวีป ศิริรัศมี. (2544). การวางแผนพัฒนาและประเมินโครงการ. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นพพล อัคฮาด. (2564). ข้อเสนอสำหรับการพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเชิงนโยบายและการจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 47(2), 85–100. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/251256

แนวหน้า. (2566, ตุลาคม 5). นครพนมเปิดทริป ‘ต้องเที่ยว Unseen’ ชมวิถี 9 ชุมชน ลดก๊าซเรือนกระจก. แนวหน้า. https://www.naewna.com/likesara/761131

ปุณยวีร์ วิเศษสุนทรสกุล, ชวลีย์ ณ ถลาง, ชมพูนุช จิตติถาวร และสหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(3), 22-33. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/244095

พจนา สวนศรี, และสมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน.

ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสาหรับประเทศไทย.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 33(2), 331-366. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/15130

มนัสสวาส กุลวงศ์, นุชเนตร กาฬสมุทร์ และธิดาพร เรืองเริงกุลฤทธิ์. (2568). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เพื่อออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ ชุมชนวัฒนธรรมวิถีตาลโตนด ตําบลบางเขียด อําเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 8(1). 31-45. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/276863

ราณี อิสิชัยกุล. (2557). การจัดการท่องเที่ยวเฉพาะทาง: แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ตามความสนใจพิเศษและการท่องเที่ยวเฉพาะทาง. โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ลดา ภารประดิษฐ, พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม และอาริยา ป้องศิริ. (2567). กลยุทธ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในระดับเมืองรอง เพื่อรองรับนโยบายการท่องเที่ยวยุคดิจิทัล. มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 22(2), 81–94. https://doi.org/10.14456/jhusoc.2024.17

วิทวัส ขุนหนู, สุภาวดี พรหมบุตร และปุณยวีร์ หนูประกอบ. (2564). การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนบ้านแหลมนาว เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 13(1), 33-57. https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/1151

วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2550). เอกสารการสอนชุดวิชาทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทย สาขาวิชาวิทยาการจัดการ: ทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วีรพล น้อยคล้าย และมรุต กลัดเจริญ. (2567). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 23–36. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/270944

ศศิชา หมดมลทิล. (2562, ตุลาคม). ท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีสู่ความยั่งยืน. หน่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจฐานราก ส่วนเศรษฐกิจฐานราก ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. https://www.gsb.or.th/gsbresearch/wp-content/uploads/2019/10/GR_report_travel_detail.pdf

ศิวาพร พยัคฆนันท์, อัครเดช สุพรรณฝ่าย, พรรณนิการ์ กงจักร, พุฒิพงษ์ รับจันทร์, อาภาพร บุญประสพ และรุจิเรศ รุ่งสว่าง. (2564). การพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวชุมชนผ้าไหมทอมือ ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารธรรมศาสตร์, 40(2), 130-156. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tujo/article/view/271862

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2558). สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้น มกราคม 5, 2567, จาก http://www.cbt-i.or.th/?ge=show_pages&gen_lang=20112012094103#.XAd_-GgzY2w

สโรธร ล้อมกำปัง. (2564). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยว จังหวัดนครนายก. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 2(1). 83-94. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1489

สำนักงานจังหวัดนครพนม. (2568). แผนพัฒนาจังหวัดนครพนม พ.ศ. 2566–2570 ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568. http://www2.nakhonphanom.go.th/files/com_news_struct/2024-01_088b7d6d9be4d20.pdf

สำนักงานจังหวัดนครพนม. (ม.ป.ป.). ชนเผ่าไทกวน. สืบค้น มกราคม 15, 2568, จาก http://www2.nakhonphanom.go.th/charm/detail/42

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561, มีนาคม 8). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการ ท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2561-2565. https://secretary.mots.go.th/news_view.php?nid=1481

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565, ตุลาคม 21). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=13651

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (ม.ป.ป.). การท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด. TAT REVIEW MAGAZINE. สืบค้น มกราคม 4, 2568, จาก https://tatreviewmagazine.com/article/community-based-tourism/

อัญชลี ศรีเกตุ และปิยะนุช เงินคล้าย. (2564). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 250-262. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/254584

Ahebwa, W. M., & van der Duim, V. R. (2013). Conservation, livelihoods and tourism: A case study of the Buhoma-Mukono Community-based Tourism Project in Uganda. Journal of Park and Recreation Administration, 31(3), 96-114. http://js.sagamorepub.com/jpra/article/view/4112

Buhalis, D. (2000). Marketing the Competitive Destination of the Future. Tourism Management, 21(1), 97-116. https://doi.org/10.1016/S0261-5177(99)00095-3

Dickman, S. (1997). Tourism: An Introductory Text (3rd ed.). Holder Education.

Humphrey, A. S. (2005, December). SWOT Analysis for Management Consulting. SRI Alumni Newsletter, SRI International. https://alumni.sri.com/newsletters/2005/AlumNews-Dec-2005.pdf

Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. SAGE.

Wheelen, T. L., & Hunger, J. D. (2002). Essentials of strategic management (3rd ed.). Prentice Hall.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2025

How to Cite

เขียวศรี ส. ., บัวธรรม โ., ลาภวิเศษชัย น., & โพชารี ล. (2025). แนวทางพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการการบิน การเดินทาง และการบริการ, 4(1), 35–57. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/tft/article/view/7212