ความสัมพันธ์การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหนองทองหลางโนนกุง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษา; การบริหาร; แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระดับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ระดับการบริหารสถานศึกษา และ3) ศึกษาความสัมพันธ์การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหนองทองหลางโนนกุง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน(Pearsion’s product correlation coefficient ) ผลการวิจัยพบว่า 1)การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหนองทองหลางโนนกุง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธรโดยภาพรวมนั้นอยู่ในระดับมาก 2) การบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหนองทองหลางโนนกุง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3)ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหนองทองหลางโนนกุง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยภาพรวม มีค่าความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
กษมาพร ทองเอื้อ.(2563). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา.(ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร)
จินตนา พุ่มไสว.(2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์. ประจวบคีรีขันธ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
ชัยยุทธ ถนอมวงษ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งเสริมการจัดการศึกษากับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของข้าราชการครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี).
ในตะวัน กำหอม. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. เล่ม 2. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยทองสุข.
ปริญ โชตินาราวัฒน์.(2564) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยงานบริหารงานทั่วไปที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัด การศึกษาของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม. (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.วิทยาลัยทองสุข).
แววพันธ์ ฉางข้าวชัย. (2558). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของ โรงเรียนบ้านนาป่าแปก อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน. (ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ศรีจันทรัตน์ กันทะวัง. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวการสอนเชิงประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับ การเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Alidri Agatha, (2016). "Traditional Wisdom in Land Use and Resource Management Among the Lugbara of Uganda," SAGE Open, , vol. 6(3), pages 21582440166, August