ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมต่อจัดการเรียนรู้ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน ภูกระดึงวิทยาคม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม; การจัดการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับการมีส่วนร่วม 2) ศึกษาระดับการจัดการเรียนรู้ 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมต่อการจัดการเรียนรู้ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนภูกระดึงวิทยาคม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 226 คน ได้มาโดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง จำนวน 116 คน ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 126 คน อาชีพรับจ้าง/เกษตรกร จำนวน 167 คน 1)การมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบอันดับที่ 1 คือด้านการมีส่วนร่วมรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์ รองลงมา คือด้านการมีส่วนร่วมดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจ และอันดับสุดท้ายคือด้านการมีส่วนร่วมประเมินผล 2)การจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอันดับที่ 1 คือ ด้านพฤติกรรม รองลงมาคือ ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และอันดับสุดท้ายคือ ด้านความรู้ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมต่อการจัดการเรียนรู้ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนภูกระดึงวิทยาคม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย โดยภาพรวม มีค่าความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
กาญจนา ลออเลิศลักขณา.(2560). ความคาดหวังของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาในจังหวัดลำปาง.(วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต)
ชัยอานนท์ แก้วเงิน. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์).
ในตะวัน กำหอม.(2559). การวิจัยทางการศึกษา. เล่ม 2. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยทองสุข.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.
รัตนพร รัตนสุวรรณ. (2564). แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช).
วิโรชน์ หมื่นเทพ. (2565). แนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในยุคความเป็นปกติใหม่: กรณีศึกษาโรงเรียนเอกชนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). กรอบสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-3). กรุงเทพฯ: สกศ.
อุทัย นิ่มเดช. (2564). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.วิทยาลัยทองสุข).