ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ด้วยหลักพละ 5

Main Article Content

ทยาวีย์ ช่างบรรจง
วรรษธรา ธรรมชูโต

บทคัดย่อ

ผลงานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุด้วยพละ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุด้วยพละ 5 จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลผู้สูงอายุ 4) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุด้วยพละ 5 จำแนกตามโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากผู้สูงอายุเพศหญิง อายุ 60 ปีขึ้นไปบ้านพักคนชราหญิง มูลนิธิมิตรภาพสงเคราะห์ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test ผลการวิจัย 1.ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอายุ 66-70 ปี การศึกษาประถมศึกษา มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน น้ำหนักตัว 56-65 กิโลกรัม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่กับลูกหลานในครอบครัว 2. โปรแกรมกายออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีวิธีการออกกำลังกาย คือ เดิน มีความถี่ในการออกกำลังกายทุกวัน ความหนักในการออกกำลังกาย คือ ใช้แรงระดับปานกลาง จนรู้สึกเหนื่อยไม่มาก ส่วนใหญ่มีระยะเวลาออกกำลังกาย 30-60 นาที 3. รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุด้วยพละ 5 ในภาพรวมมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่า ด้านศรัทธา ด้านวิริยะ ด้านสมาธิ และด้านปัญญา มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ส่วนด้านสติ มีความคิดเห็นในระดับมาก 4. การเปรียบเทียบรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุด้วยพละ 5  โดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุ  ระดับการศึกษา  โรคประจำตัว  น้ำหนักตัวปัจจุบัน  และอยู่กับใครในครอบครัวแตกต่างกันมีรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุด้วยพละ 5 ด้านศรัทธา  ด้านวิริยะ ด้านสติ ด้านสมาธิ และด้านปัญญาไม่แตกต่างกัน 5.  การเปรียบเทียบรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุด้วยพละ 5 โดยจำแนกตามโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีวิธีการออกกำลังกาย และความถี่ในการออกกำลังกายแตกต่างกันมีรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุด้วยพละ 5 แตกต่างกัน ส่วนผู้สูงอายุที่มีความหนักในการออกกำลังกาย และระยะเวลาออกกำลังกายแตกต่างกันมีรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุด้วยพละ 5 ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ