การมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มสตรีเทศบาลเมืองอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

โชติมา นวลจันทร์

บทคัดย่อ

  บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2)เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมือง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3)ปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กรอบแนวคิดใช้แนวคิดของ Cohen and Uphoff ; Mc Closky,  1968 ประชากร คือ กลุ่มสตรีเทศบาลเมืองอ่างศิลา จำนวน 30,006 คน นำมาเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซี่ และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 379 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามนำไปหาค่าความเชื่อมั่นได้ .95  สถิติที่ใช้ได้แก่ การแจกแจงความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในภาพร่วมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน ระดับน้อย 1 ด้าน อันดับแรก คือ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ รองลงมา การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และข้อที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด การมีส่วนร่วมในการประเมิน 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมือง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุ อาชีพ ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมือง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3)ปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง พบว่า ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม ด้านจิตวิทยาทางการเมือง ด้านสิ่งแวดล้อมทางการเมือง มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง นัยสำคัญที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิชาการ