การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2

Main Article Content

สุกัญญา ขุนเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1.)เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 2.) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์ และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จำนวน 92 โรงเรียน แยกเป็นผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 40 โรงเรียน โรงเรียนขนาดกลางจำนวน 49 โรงเรียน และขนาดใหญ่จำนวน 4 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (coefficient  alpha) ของ Cronbach ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง  0.20 - 0.67  และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ  0.93 สรุปผลการวิจัย


1.) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 อยู่ในระดับมากทุกด้าน  เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้  ด้านการพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านการจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานวิชาการของสถานศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ ด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการประสานร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น  ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้  ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา และด้านการแนะแนว


          2.) เปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขต0พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ที่มีประสบการณ์ต่างกัน พบว่า ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ที่ต่างกันมีประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน คือ ด้านการพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านการจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานวิชาการของสถานศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ ด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการประสานร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น  ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้  ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา และด้านการแนะแนว


          3.) ผู้บริหารโรงเรียนใน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ที่มีประสบการณ์ต่างกัน  มีประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ทั้งภาพรวมและรายด้าน4.) ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ที่มีขนาดของโรงเรียนแตกต่างกันมีประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้   1.) ควรจะมีการศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการแยกเป็นเฉพาะรายด้าน  เช่น  ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยี  ด้านพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา  เป็นต้น ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป1.) ควรจะมีการศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตที่อยู่ใกล้กันเช่น  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 2.) ควรจะมีการศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการแยกเป็นระดับศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ