การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

Main Article Content

ดำรง ศรีอร่าม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง          2) พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง 3) ทดลองและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยการวิจัยมี 3 ขั้นตอน: 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง  2) การพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง 3) ทดลองและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิชัยเชิงปริมาณ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนโรงเรียน  บ้านค่าย กลุ่มตัวอย่าง 76 คน ใช้ตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan . 1970: 607-610) และผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ทั้ง 4 ฝ่าย หัวหน้างานประกันคุณภาพ ศึกษานิเทศก์ รวมจำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินความเป็นประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ในภาพรวม มีการปฏิบัติมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (=4.31, S.D. = 0.59) 2) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1. การพัฒนาการจัดการศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม 2) การบริหารแผนนวัตกรรม 3) การบริหารหุ้นส่วนองค์การ 4) การพัฒนานวัตกร องค์ประกอบที่ 2 คุณภาพการบริหาร ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ผู้บริหาร 2) การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน 3) ปัจจัยการพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 4) กลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งใช้การขับเคลื่อนด้วยกระบวนการบริหาร 4 ขั้นตอน ผู้ใชรูปแบบมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.55, S.D. = 0.10) และรูปแบบมีความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.58, S.D. = 0.06)

Article Details

บท
บทความวิชาการ