การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนด้วยกลไกสภานักเรียน เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

Main Article Content

พนิดา อุสายพันธ์

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดรูปแบบการบริหารโรงเรียนด้วยกลไกสภานักเรียนเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ปัญหาและความต้องการจำเป็นของรูปแบบการบริหารโรงเรียนด้วยกลไกสภานักเรียนเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนด้วยกลไกสภานักเรียนเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี 4) เพื่อตรวจสอบรูปแบบการบริหารโรงเรียนด้วยกลไกสภานักเรียนเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยประชากร คือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2564 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนครู และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินและแบบสอบถามผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดรูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบทางการ รูปแบบเพื่อนร่วมงาน รูปแบบการเมือง และรูปแบบวัฒนธรรม โดยแต่ละรูปแบบมี 8 องค์ประกอบ ส่วนกรอบแนวคิดคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วยคุณลักษณะหลัก 6 ด้าน ได้แก่ (1) ความสามารถทางปัญญาและการรู้แจ้ง(2)บุคลิกภาพสร้างสรรค์ (3) ความกล้าหาญ (4) ความใจกว้างและเชื่อมั่นในผู้รับมอบหมายงาน (5) ความปรารถนาและมุ่งมั่นให้สำเร็จ และ (6) ความรอบรู้ 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ปัญหาและความต้องการจำเป็นของรูปแบบการบริหารโรงเรียนด้วยกลไกสภานักเรียนเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี พบว่า เป็นรูปแบบเพื่อนร่วมงานและรูปแบบทางการ ส่วนสภาพที่พึ่งประสงค์ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนด้วยกลไกนักเรียนเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเพื่อนร่วมงาน รองลงมาคือ รูปแบบทางการ และรูปแบบวัฒนธรรมตามลำดับ 3) รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้น คือ รูปแบบเพื่อนร่วมงานอิงทางการ (CFM Model) และ 4) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิชาการ