การประยุกต์หลักสาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ ในการบริหารงานเทศบาลตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พระเจษฎา สุจิตฺโต
สุริยะ มาธรรม
พระมหาปัญญาวรวัฒน์ สิริภทฺโท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ในการบริหารงานเทศบาลตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ในการบริหารงานเทศบาลตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล3) ประยุกต์หลักสาราณียธรรมในการส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ในการบริหารงานเทศบาลตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการ จากสำนักงานเทศบาลตำบลลาดบัวขาวจำนวน 4,225 คนโดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด 367 คน จากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ซึ่งใช้ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) เมื่อพบว่ามีความแตกต่าง จึงได้ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับความคิดเห็น การส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ในการบริหารงานเทศบาลตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมาเจ้าหน้าที่หยุดใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความปรองดองป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาใหม่นำขันติมาใช้ส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ในชุมชนร่วมกันไกล่เกลี่ยเพื่อจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชนประนีประนอมทุกฝ่ายเพื่อลดความขัดแย้งลดความแตกแยกสร้างความไว้วางใจแก่ประชาชนพร้อมรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาให้ความสำคัญกับบุคคลที่อยู่รอบข้างสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบการเยียวยากับผู้ที่ได้รับผลกระทบรับฟังเหตุผลของผู้กระทำผิดให้อภัยต่อผู้กระทำผิดคิดถึงความรู้สึกของผู้อื่นเสมอให้กำลังใจช่วยให้อีกฝ่ายไม่รู้สึกว่าอยู่คนเดียวให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ 2. เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ในการบริหารงานเทศบาลตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความคิดเห็นต่อการส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ในการบริหารงานเทศบาลตำบลลาดบัวขาว  จังหวัดนครราชสีมา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยประชาชนที่มีอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความคิดเห็นต่อการส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ในการบริหารงานเทศบาลตำบลลาดบัวขาว  จังหวัดนครราชสีมา ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ประยุกต์หลักสาราณียธรรมในการส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ในการบริหารงานเทศบาลตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมาโดยหลักสาราณียธรรม 6 การส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ เพื่อให้เกิดกระบวนการการบริหารงาน ให้มีการประพฤติที่ดี  การคิดดี มองกันในแง่ดี มีความหวังดีและปรารถนาดีต่อกันมีเมตตาปฏิบัติตนซึ่งกันและกันอันเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งภาษากายและการพูด โดยการฟังเสียงของประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อนำความทุกข์ร้อนของประชาชนไปบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ในการจัดสรรผลประโยชน์อันชอบธรรมให้เกิดขึ้น โดยมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ให้กับประชาชนทุกพื้นที่ให้ได้รับผลประโยชน์เหล่านั้น โดยการไม่มีการเลือกปฏิบัติอยู่ในหลักของความเสมอภาคยุติธรรมและมีส่วนร่วมได้อย่างเท่าเทียม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และได้ประสิทธิผลทางสร้างสรรค์ให้อยู่ในรูปแบบทางสังคมที่ดีโดยปราศจากความขัดแย้งและยึดถือในอุดมคติด้วยการยอมรับในเหตุและผล โดยการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ