สวนผึ้งปันแต: แนวทางส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ้งกรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

อลิสา ทองเกื้อ
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว
อุดมศักดิ์ เดโชชัย
พระครูวินัยธรสุริยา สุริโย (คงคาไหว)

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ้ง กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรง และชันโรง 2) ศึกษาสภาพปัญหาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ้ง กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรง และชันโรง และ 3) หาแนวทางส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ้ง กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรง และชันโรง ตำบลปันเเต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1) กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้ง ประกอบด้วย สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรง และชันโรง และ 2) กลุ่มผู้ส่งเสริม และสนับสนุน ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล อุตสาหกรรมจังหวัด ผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม นักวิชาการสาธารณสุข ผู้อำนวยการการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย นักวิชาการเกษตร นักพัฒนาชุมชน และร้านค้า จำนวนทั้งสิ้น 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้ง มีขั้นตอน ได้แก่ 1.1) การผลิต ประกอบด้วย การเตรียมอุปกรณ์ การเตรียมวัตถุดิบวิธีการแปรรูป การเลือกบรรจุภัณฑ์ และ 1.2) การรูปแบบผลิตภัณฑ์ 2) สภาพปัญหาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ้ง มี 3 ด้าน ได้แก่ 2.1) ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2.2) ด้านการประชาสัมพันธ์ และ 2.3) ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และ 3. แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ มี 3 ด้าน คือ 3.1) การส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมีมาตรฐานสากลและคุณภาพ 3.2) การส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ ศึกษาช่องทางการประชาสัมพันธ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความเป็นเอกลักษณ์ และการสร้างเครือข่ายกระจายสินค้า และ 3.3) การส่งเสริมมาตรฐานการผลิต กำหนดเกณฑ์มาตรฐานและคุณภาพการคัดสรรวัตถุดิบ การส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อนำความรู้ที่ได้มาต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิระเดช มณีรัตน์ และอัญชลี สวาสดิ์ธรรม. (2554). การคัดเลือกชนิดของน้ำผึ้งเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ลูกกวาด. ปทุมธานี: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณพัฐอร บัวฉุน. (2559). การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในลิปสติก ด้วยเทคนิคอินดักทีฟลี่ ดับเปิ้ลพลาสมา-ออฟติคอลอิมิสชั่นสเปกโตรเมทรี (ไอซีพี-โออีเอส). วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์, 11(2), 88-102.

ณัฐณัฏฐ์ อนิวรรตน์. (2558). มาตรฐานบังคับสินค้าเกษตร มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยสินค้าเกษตร. วารสารอาหาร, 45(1), 24-25.

เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2565). กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรงควนขนุนสร้างความเข้มแข็งในชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ควนขนุน สร้างความเข้มแข็งในชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 9 พฤษภาคม 2565 จาก https://www. technologychaoban.com/thai-local-wisdom/article _ 3 2

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

ปาริชาติ สว่างแก้ว. (2557). การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับการแปรรูปจากน้ำผึ้งของฟาร์มผึ้งเทพภักดี จังหวัดลพบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตัณฑ์และบรรจุภัณฑ์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วรรณเฉลิม ทองพัด และปัญญณัฐ ศิลาลาย. (2559). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าน้ำผึ้งชันโรง กรณีศึกษาผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักวัฒนธรรม การกีฬา และท่องเที่ยว.

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริอําเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีและสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (สำนักงาน กปร.). (2556). การเลี้ยงและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและชันโรง. จันทบุรี: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จังหวัดจันทบุรี.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.