การส่งเสริมโรงเรียนสุขภาวะในโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนใช้ปัญหาเป็นฐาน

Main Article Content

ทรงยศ สาโรจน์

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้เป็นการกล่าวถึงการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญญาเป็นฐาน โดยอิงมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาเพียเจต์ ซึงเป็นการพัฒนาสติปัญญาเป็นไปตามช่วงวัย กล่าวคือ การส่งเสริมโรงเรียนสุขภาวะในโรงเรียนขนาดเล็กโดยให้ผู้เรียนใช้ปัญหาเป็นฐาน นำกระบวนการบริหารจัดการใหม่ที่ยึดเอาสุขภาวะเป็นตัวตั้ง เพื่อให้ผู้เรียนเป็นสุข องค์กรเป็นสุข สภาพแวดล้อมเป็นสุข ครอบครัวเป็นสุข และชุมชนเป็นสุข ทั้งมิติทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม ที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล ประกอบด้วย 1) ด้านสุขภาวะทางกาย คือ การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดี และไม่มีอุบัติภัย 2) ด้านสุขภาวะทางจิต คือ จิตใจที่เป็นสุข ปรับตัวได้เมื่อเผชิญปัญหาและความเปลี่ยนแปลง 3) ด้านสุขภาวะทางปัญญา คือ มีความรอบรู้ รู้เท่าทันสรรพสิ่ง มีเมตตากรุณา มีสติ มีสมาธิ และ4) ด้านสุขภาวะทางสังคม คือ การอยู่ร่วมกันด้วยดีในครอบครัว ชุมชน สถานที่ทำงาน คนในชุมชน รวมถึงการมีบริการทางสังคมที่ดี มีความเสมอภาคและสันติภาพ เพื่อให้มีความสามารถรับมือความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยบูรณาการกับกระบวนการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–Based Learning) วิธีการเรียนการสอนจะนำปัญหาหรือสถานการณ์มาเป็นจุดเริ่มต้นของการแสวงหาความรู้และ ให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา เรียนโดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย การเรียนโดยการกำกับตนเอง (Self - Directed Learning) การทำงานร่วมกันเป็นทีม มีความยืดหยุ่นและสามารถเลือกปรับให้เหมาะแก่การใช้งานเพื่อใช้เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ และประยุกต์ปรับใช้จัดการเรียนรู้อื่น ๆ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 334 - 348.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.

ทรงยศ สาโรจน์. (2565). รายงานผลการดำเนินงานโครงการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายการศึกษาตามอัธยาศัยหรือโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพมหานคร: โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ปรัชญา เวสารัช. (2545). เอกสารประกอบการอบรมผู้บริหารการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

__________. (2557). สอนเขียนแผนบูรณาการบนฐานเด็กเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร. (2557). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2557 - 2561. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร: กองนโยบายและแผนสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา. (2560). เครื่องมือพัฒนาสู่ความเป็นโรงเรียนสุขภาวะ. มหาสารคาม: บริษัทสารคามการพิมพ์ จำกัด.

ยุวธิดา คำปวน. (2560). การบูรณาการ: เส้นทางแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. การบูรณาการ: เส้นทางแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, 8(1), 26 - 38.

เรืองเดช เขจรศาสตร์ และคณะ. (2559). การจัดการศึกษาแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียน กรณีโรงเรียนต้นแบบการส่งเสริมสุขภาพในแถบลุ่มน้ำโขง. อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์.

วาระดี ชาญวิรัตน์ และคณะ. (2563). การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนสุขภาวะ กรณีศึกษาโรงเรียนทหารอากาศบำรุง. NRRU Community Research Journal, 15(2), 142 - 154.

วิจารณ์ พานิช. (2555). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

ศุภกาญจน์ วิชานาติ. (2562). ทักษะแห่งการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : ความท้าทายสำหรับครูสอนพระพุทธศาสนา. วารสารปัญญาปณิธาน, 4(2), 81 - 94.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). โรงเรียนสุขภาวะการศึกษาแบบนวัตกรรมยุคใหม่. เรียกใช้เมื่อ 2565 พฤษภาคม 9 จาก https://resourcecenter. thaihealth.or.th.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Charoenrak, P. & Chamswarng, C. (2559). Efficacies of wettable pellet and fresh culture of Trichoderma asperellum biocontrol products in growth promoting and reducing dirty panicles of rice. Nat Resour, 50(4), 243 - 249