การประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชากับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงเรียนคิชฌกูฏวิทยา และโรงเรียนบ้านทรัพย์เจริญ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

จิรัฏฐิกานต์ จันทร์แทน
อนันต์ สัตย์ธรรม
อรพรรณ จันทร์ทอง
กมลชนก เวชสิทธิ์
ธีรภัทร หลังนาค

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) สังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการองค์กรแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 3) ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชากับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนคิชฌกูฏวิทยา และโรงเรียนบ้านทรัพย์เจริญ จังหวัดจันทบุรี เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ด้านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ จำนวนทั้งสิ้น 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) ผู้บริหารเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีภาวะผู้นำทางวิชาการ และมีความพร้อมในการขับเคลื่อนการสร้างการชุมชนแห่งการเรียนรู้ 1.2) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ศักยภาพการทำงานระบบทีมที่มีประสิทธิภาพ และ 1.3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูนำผลงานการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มี 2 ด้าน คือ 2.1) เป้าหมาย การบริหารจัดการองค์กร ครูนักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และ 2.2) ความเข้าใจ มีความเข้าใจแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้และปรับประยุกต์ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และการเรียนรู้ร่วมกันทางวิชาชีพ และ 3) แนวทางการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชา ยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” กับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนา และให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ส่วนรวมและบรรลุเป้าหมายร่วมกัน เกิดการพัฒนาบรรทัดฐานและแนวปฏิบัติ (Norm) สู่ความยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

ปราณี นาคทอง. (2565). การจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในวิกฤติการณ์โควิด 19. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 3(1), 63-69.

มณฑล สรไกรกิติกูล. (2562). การวินิจฉัยองค์กรเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. สถาบันวิจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 18(2), 1-13.

มารุต พัฒผล และวิชัย วงษ์ใหญ่. (2562). การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

โรงเรียนคิชฌกูฏวิทยา. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี 2564. จันทบุรี: โรงเรียนคิชฌกูฏวิทยา.

โรงเรียนบ้านทรัพย์เจริญ. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี 2564. จันทบุรี: โรงเรียนบ้านทรัพย์เจริญ.

วงษ์สิริ เรืองศรี และคณะ. (2563). ศาสตร์พระราชา ศาสตร์แห่งแผ่นดิน ศาสตร์แห่งการก่อเกิด“การพัฒนาชุมชน”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 264-279.

สมบัติ นพรัก. (2561). ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาศาสตร์การบริหาร. กรุงเทพหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัด และสาระการ เรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). (2561). สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์. นิตยสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย CEA, 9(12), 1-15.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

สุนันท์ ศลโกสุม และไพฑูรย์ โพธิสาร. (2561). ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 4(supplement), 1(1), 10-11.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2559). ตามรอยพระยุคลบาทครูแห่งแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers.

Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: communities of continuous inquiry and improvement. Southwest Educational Development Laboratory, Austin: Taxas.

Senge, P. (1990). The fifth discipline : The art and practice of the learning organization. New York: Currency Doubleday.

Stoll, L. et al. (2006). Professional Learning Communities: A review of the literature. Journal of Education Change, 7(1), 221-258.