แพะเขาใหญ่: แนวทางส่งเสริมการเลี้ยงแพะในชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านเขาใหญ่ หมู่ที่ 5 ตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วิพัฒน์ แซ่เฮง
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว
อุดมศักดิ์ เดโชชัย

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเลี้ยงแพะในชุมชน สภาพปัญหา การเลี้ยงและแนวทางส่งเสริมการเลี้ยงแพะในชุมชน กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านเขาใหญ่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) วิธีการเลี้ยงแพะในชุมชน มีวิธีการ ดังนี้ 1.1) การเตรียมโรงเรือน เลือกทำเลที่โล่ง เลือกตีนเสาที่ทำด้วยปูน ใช้ไม้เทียมในการทำคอก คอกต้องยกให้สูงจากพื้นดิน เพื่อสะดวกในการกวาดมูลแพะ และทำลานใต้คอกเพื่อรับมูลแพะ 1.2) การเลือกสายพันธุ์ พ่อพันธุ์เป็นพันธุ์บอร์ แม่พันธุ์บอร์ และแม่พันธุ์จะเน้นเลือด 50 ซาเนน ควรเลือกสายพันธุ์ที่เป็นพันธุ์ 3 สายเลือด เพราะจะมีความทนทานต่อโรคได้สูง 1.3) การดูแล และให้อาหาร ให้อาหารช่วงเช้า ประมาณ 10 โมง และเปลี่ยนน้ำรอบเที่ยง ตอนเย็นให้หญ้าหมัก และเปลี่ยนน้ำให้กินอาหารผสม กากถั่วเหลือง และหญ้าสด 1.4) การรักษาโรค ใช้ยาปฏิชีวนะ ใช้ยาอม็อคซี ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เพื่อให้ฆ่าเชื้อ 1.5) การจับจำหน่าย แพะก่อนที่จะขาย จะมีการงดอาหารให้กินแต่หญ้ากับน้ำนิด ๆ หลังจากการขายแพะ ต้องล้างคอกทำความสะอาด และใส่หญ้าให้กับตัวมีขนาดเล็กที่เหลือกินอยู่ตามปกติ 2) สภาพปัญหาในการเลี้ยงแพะในชุมชน มีดังนี้ 2.1) ปัญหารูปแบบการเลี้ยงแพะ 2.2) ปัญหาอาหารที่ใช้เลี้ยงแพะ 2.3) ปัญหาโรคในแพะ 2.4) ปัญหาด้านเงินลงทุน 2.5) ปัญหาด้านพันธุ์สัตว์ และ 2.6) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 3) แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงแพะ มีดังนี้ 3.1) แนวทางส่งเสริมด้านอาชีพ 3.2) การให้ความรู้เรื่อง วิธีการเลี้ยงดูและโรคระบาด 3.3) การจัดการด้านอาหาร และยารักษาโรค 3.4) แนวทางส่งเสริมด้านเงินลงทุน 3.5) แนวทางส่งเสริมด้านการพัฒนาสายพันธุ์ และ 3.6) แนวทางส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2555). การส่งเสริมกลุ่มอาชีพกลุ่มเลี้ยงแพะ. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2562 จาก https://www.google.co.th/search?dcr=0&source=hp&ei=58ml XYfrLJaSvQSfoafwCQ&q0.M93ZarIi0E0&ved=0ahUKEwjHtDgr57lAhUWSY8KHZ_QCZ4Q4dUDCAY&uact=5

กัลยานี ภาคอัต และคณะ. (2551). การจัดการการเงิน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

ชญาณี คงเกียรติจิรา. (2556). การผลิตและการตลาดแพะเนื้อในอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ถวัลย์ วรรณกุล. (2546). การเลี้ยงแพะและการป้องกันโรคแพะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สัตว์เศรษฐกิจ แมกกาซีน.

ธนสิทธิ์ เหล่าประเสริฐ. (2561). ลดต้นทุนด้วยอาหารสัตว์ธรรมชาติ. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2562 จาก https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/ article_79861

นิสากร กล้าณรงค์. (2549). ศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเพื่อการค้าในภาคใต้ : กรณีศึกษาอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

บัณฑร อ่อนคำ และวิริยา น้อยวงศ์. (2553). ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชนบท : ประสบการณ์ของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .

พิริยะพงศ์ บำรุงกิจ. (2558). การดับกลิ่นมูลแพะและกลิ่นแก๊สในโรงเรือนด้วย EM. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2562 จาก https://www.rakbankerd.com/agriculture/page. php?id=5812&s=tblanimal

วินัย ประลมพ์กาญจน์. (2548). ปัญหาและการพัฒนาการเลี้ยงแพะในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(1), 16-20.

วินัย ประลมพ์กาญจน์. (2550). ผลผลิตการแพะ. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2562 จาก http://opac.lib.kmitl.ac.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00144430

วิไลลักษณ์ ชาวอุทัย. (2555). มลภาวะทางอากาศและทางเสียงจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์. วารสารปศุสัตว์เกษตรศาสตร์, 39(153), 47-53.

สมเกียรติ สายธนู. (2537). การปรังปรุงสายพันธุ์. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2562 จาก http://www.natres. psu.ac.th/radio/radio_article/radio37-38/37-380002.htm

สมนึก ลิ้มเจริญ. (2563). โมเดลการส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อในจังหวดัชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 12(3), 337-360.

สหรัฐ เงินสง่า. (2550). การผลิต และการตลาดแพะเนื้อในอําเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรเกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริม และพัฒนาการเกษตร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุชาติ นาคกุล. (2552). แพะ. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2562 จาก https://www.rakbankerd.com

สุธา โอมณี. (2560). การศึกษารูปแบบการเลี้ยง และวิถีการตลาดแพะเนื้อ กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการเกษตร . มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุรชน ต่างวิวัฒน์. (2546). การเลี้ยงแพะ. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.