วิธีการใช้สมุนไพรสำหรับการอยู่ไฟหลังคลอดด้วยองค์ความรู้พื้นบ้าน: กรณีศึกษา กลุ่มแพทย์แผนไทย หมู่ที่ 1 ตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุเมษา มากคงแก้ว
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว
อุดมศักดิ์ เดโชชัย

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการใช้สมุนไพรสำหรับการอยู่ไฟหลังคลอดด้วยองค์ความรู้พื้นบ้าน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการใช้สมุนไพรสำหรับการอยู่ไฟหลังคลอดด้วยองค์ความรู้พื้นบ้าน 3) แนวทางการส่งเสริมการใช้สมุนไพรสำหรับการอยู่ไฟหลังคลอดด้วยองค์ความรู้พื้นบ้าน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) วิธีการใช้สมุนไพรสำหรับการอยู่ไฟหลังคลอดด้วยองค์ความรู้พื้นบ้าน พบว่า มีขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นตอนการนวดด้วยน้ำมันสมุนไพร ซึ่งมีส่วนผสมของ หัวไพร น้ำมันมะพร้าว และเมนทอล เป็นต้น 2) ขั้นตอนการนำลูกประคบสมุนไพร ซึ่งเตรียมไว้แล้ว มาประคบตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย 3) ขั้นตอนการทับหม้อเกลือด้วยสมุนไพร ซึ่งห่อด้วยผ้า และสมุนไพร หลังจากนั้นจึงนำไปประคบส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 4) ขั้นตอนสุดท้าย ผู้อยู่ไฟหลังคลอดจะเข้ากระโจมเพื่ออบสมุนไพรประมาณ 15 นาที จำนวน 2 รอบ จึงสิ้นสุดกระบวนการ 2) สภาพปัญหาวิธีการใช้สมุนไพรสำหรับการอยู่ไฟหลังคลอดด้วยองค์ความรู้พื้นบ้าน พบว่า มีสภาพปัญหาดังนี้ 1) ปัญหากลิ่นติดตามตัว 2) เพื่อศึกษาปัญหาสมุนไพรซึ่งเป็นส่วนผสม มักขาดแคลนเป็นนบางชนิด 3) ปัญหาขั้นตอนการอยู่ไฟมีความซับซ้อน จึงทำให้ปฏิบัติตามได้ไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด 4) ปัญหาผู้อยู่ไฟต้อง’ปรับตัว และต้องมีความอดทนสูง 3) แนวทางการส่งเสริมวิธีการใช้สมุนไพรสำหรับการอยู่ไฟหลังคลอดด้วยองค์ความรู้พื้นบ้านพบว่า 1) สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งคนในชุมชน และผู้ที่สนใจ 2) มีการสืบทอดถ่ายทอดรุ่นต่อรุ่น 3) มีการส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ด้านสมุนไพร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แนวทางการตรวจสอบสุขภาพที่จำเป็น และเหมาะสมสำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์การสังเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กิตติ ลี้สยาม. (2555). จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การอบสมุนไพร. เรียกใช้เมื่อ 5 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.stou.ac.th.Schools/she/booklet/book55.3/cu/ture.htm

จตุภูมิ นีละศรี. (2561). ความรู้ และทักษะการตรวจร่างกายเบื่องต้น เพื่อประเมินการใช้ยาสำหรับเภสัชกร. เรียกใช้เมื่อ 5 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.thaihealthconsumer.org/wp-content/uploads/2018/05/

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2538). วิเคราะห์ภูมิปัญญาอีสาน. มหาสารคาม: โรงพิมพ์สิริธรออฟเซ็ท.

จิตติมา ดำรงวัฒนะ. (2548). แม่ทาน (วิถี พลัง อำนาจ และบทบาทในการให้กำเนิดเลี้ยงดูบุตร-ธิดาโดยกระบวนการภูมิปัญญท้องถิ่น). นครศรีธรรมราช: สถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ชวัลวลัย เมฆสวัสดิชัย. (2561). บทบาท เภสัชสมุนไพรขับเคลื่อน สระบุรี เป็นจังหวัดสมุนไพร. เรียกใช้เมื่อ 7 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.hfocus.org/comtemt/2018/09/16298

ดวงฤทัย อรรคแสง. (2552). กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าใหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(4), 135-147.

นวลจันทร์ ใจอารีย์. (2558). การแพทย์แผนไทยประยุกต์ สำหรับการดูแลหญิงก่อนตั้งครรภ์ขณะตั้งครรภ์ การทำคลอด และหลังคลอด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญศิริ คณะภักดิ์. (2562). แพทย์แผนไทยประยุกต์ คนยุกต์ใหม่รู้จักกันใหม อยู่ไฟหลังคลอด. เรียกใช้เมื่อ 7 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.honestdocs.co/lie-by-the-fire-after-ohidbirth

ปัณณธร ไชยบุญเรือง. (2560). 5 สุดยอดสมุนไพรไทยตลาดโลกต้องการสูง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

พรทิพย์ เต็มวิเศษ. (2548). การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

พิมพ์วิภา แพรกหา. (2560). การอบสมุนไพร ดี อย่างไร. เรียกใช้เมื่อ 2562 กรกฎาคม 9 จาก https://www.ttmed.psu.ac.thblog.php?=212

วราวุธ เสริมสินสิริ. (2558). เส้นทางพัฒนาสมุนไพรไทยสู่ความยั่งยืน. News letter Med.& Herb, 2(5), 8-9.

วิชัย อึงพินิจพงศ์. (2551). การนวดแผนไทยเพื่อการบำบัด. กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาสน์.

วิภาวรรณ ศรีสังข์. (2562). โครงการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด โดยการแพทย์แผนไทย. เรียกใช้เมื่อ 1 กันยายน 2562 จาก https://www.localfund.happy natwork.org/project/50/29

วีระพงษ์ เกรียงสินยศ และคณะ. (2552). อยู่ไฟหลังคลอด การจัดการความรู้การดูแลแม่ และเด็กภูมิปัญญาพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: แผนงานพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพเพื่อการพี่งตนเองของชุมชน มูลนิธิสุขภาพไทย.

สถาบันพรหมวชิรญาณ. (2562). การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย. เรียกใช้เมื่อ 31 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.promwachirayan.org/th/93-บริการต่างๆ/217_การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยกการแพทย์แผนไทย

สำนักงานหลักประกันสุขภาพ. (2553). แนวเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทย (ว.ทท.) สำหรับฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอดในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพ.

สิรินทิพย์ วิชญวรนันท์. (2553). การทับหม้อเกลือ. เรียกใช้เมื่อ 15 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=15

สุเทพ อภัยจิตร. (2551). ศิลปการนวด. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.

สุภาภรณ์ ปิติพร. (2556). บันทึกของแผ่นดิน 5 สมุนไพร ประคบ อบ นวด. กรุงเทพมหานคร: ปรมัตถ์การพิมพ์.

เสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ และรุจินาถ อรรถสิษฐ. (2550). สภาพ และทิศทางการวิจัยภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

หอสมุดแห่งชาติ. (2553). ยาสามัญประจำบ้าน ชุด สมุนไพรไทยและการอยู่ไฟหลังคลอด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา.

อุดมรัตน์ เขมาลีลากุล. (2550). เอกสารประกอบการสอนกระบวนการวิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก. เรียกใช้เมื่อ 9 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.wed1.dent.cmu.ac.th/mis/dis/Userfiles/Fil/Surg/plan%20DOS%20482/Sheet482Physicalexam.pdf