แนวทางการบริหารงานนิเทศการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ของโรงเรียน บ้านเวียงพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 3

Main Article Content

สุพัตรา บุตร์มี
สุวดี อุปปินใจ
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานนิเทศการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ของโรงเรียนบ้านเวียงพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 และ 2) เพื่อหาแนวทางการบริหารงานนิเทศการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ของโรงเรียนบ้านเวียงพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 แหล่งข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายบริหาร และคณะครูโรงเรียนบ้านเวียงพาน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ประกอบไปด้วย การวิเคราะห์ค่า Priority Need Index : PNI วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเนื้อหาสำคัญ นำเสนอในรูปแบบตารางและความเรียง ซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานนิเทศการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ของโรงเรียนบ้านเวียงพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยภาพรวม ดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากับ 0.29 ด้านที่สูงที่สุด คือ การวางแผน รองลงมาคือ ภาวะผู้นำ การควบคุม การจัดองค์กร และการประเมินผล ตามลำดับ 2) แนวทางการบริหารงานนิเทศการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ของโรงเรียนบ้านเวียงพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 นำเสนอ 5 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน  2) ด้านการจัดการองค์กร 3) ด้านภาวะการเป็นผู้นำ 4) ด้านการควบคุม และ 5) ด้านการประเมินผลการสอน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนเปิดภาคเรียน 20 กุมภาพันธ์ 2563. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กุลกาญจน์ สุวรรณรักษ์. (2558). การนิเทศการสอนในยุค 4.0. เรียกใช้เมื่อ 23 มกราคม 2563 จาก http://edu.bsru.ac.th/images/196/%204.0%20%20new.pdf

เกรียงศักดิ์ เรืองแสง. (2551). การศึกษาระดับปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 1(3), 103-112.

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2564). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 23 มกราคม 2564 จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2021/03/01-แผน-ปฎร.การศึกษา.pdf

ชัยชนะ มิตรพันธ์. (2563). ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตใหม่รับ New Normal หลังวิกฤตโควิด-19. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.etda.or.th/content/new-normal-after-covid-19.html

ชาคริยา ชายเกลี้ยง. (2562). รูปแบบการนิเทศแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการวิจัยของครู ระดับมัธยมศึกษา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 5344-5361.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด – 19. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3), 783-795.

ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2542). การนิเทศการศึกษา : ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19 : จาก บทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. เรียกใช้เมื่อ 9 พฤษภาคม 2563 จาก https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic/

วรสิทธิ์ วรรณพงษ์. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการนิเทศภายใน ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การออกแบบการเรียนรู้ใน New Normal. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมพร ปานดำ. (2563). พลิกวิกฤตสู่โอกาสของอาชีวศึกษาไทยบนความปกติใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7), 1-13.

สันติ หัดที และสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2563). การศึกษาความต้องการจำเป็นการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(9), 64-78.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). รายงาน เรียนออนไลน์ยุคโควิด-19 : วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

Allen L. A. (1958). Management and Organi Zation. New York: McGraw-Hill.