หลาดโบราณ: แนวทางการพัฒนาตลาดย้อนยุคเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบางฉนาก ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและการบริหารจัดการของตลาดย้อนยุค เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบางฉนาก ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาตลาดย้อนยุคเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบางฉนาก ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1) ผู้ประกอบการร้านค้า ประกอบด้วย ร้านขนมหวาน ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม จำนวน 14 คน และ
2) ผู้ส่งเสริมการพัฒนาตลาดย้อนยุคบ้านบางฉนาก ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม หัวหน้าฝ่ายบริการและการเผยแพร่การท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่เทศกิจ ประธานชุมชน และผู้นำเที่ยวตลาด จำนวน 8 คน จำนวนทั้งสิ้น 22 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการบริหารจัดการ ได้แก่ 1.1) ตลาดคับแคบ แออัด มีพื้นที่จำกัด 1.2) การขนส่งลูกค้าทางรถ ทางเรือไม่คล่องตัว และ 1.3) สถานที่จอดรถลูกค้ายังไม่เพียงพอ ส่วนการบริหารจัดการตลาดย้อนยุค ได้แก่ 1) ยุคแรก มีการปรับพื้นที่ป่าชายเลนมาเป็นตลาด ใช้ซุ้มร้านค้าเป็นเพิงหมาแหน ตกแต่งด้วยวัสดุที่มีในท้องถิ่น 2) ยุคกลาง เป็นซุ้มไม้ไผ่ ตกแต่งด้วยธงริ้วและ 3) ยุคปัจจุบันนี้ ซุ้มเคลื่อนย้ายได้ ตกแต่งด้วยร่มหลากสี ที่นั่งแบบห้อยขา และ 2) แนวทางการพัฒนาตลาดย้อนยุคคือ 2.1) การรณรงค์ไม่ทิ้งขยะมูลฝอย ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก 2.2) สร้างความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชน 2.3) สนับสนุนศิลปะพื้นบ้านเยาวชน และผู้สูงอายุ 2.4) พัฒนาอาชีพ และ 2.5) ขยายพื้นที่ตลาด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิรวัฒน์ บุญพิศาล. (2562). ตลาดบ่อนไก่: แนวทางการจัดการตลาดบ่อนไก่โดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชนและท้องถิ่น กรณีศึกษาชุมชนตลาดบ่อนไก่ ตำบลอ่าวพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย “นักคิด นักสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรมสู่สังคม”. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
นายกเทศมนตรีเมืองปากพนัง. (26 มกราคม 2564). บริบทที่พบเห็นในหลาดโบราณ (ตลาดย้อนยุคบ้านบางฉนาก). (จุฑารัตน์ สุดคง และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.
ปราณี ตันประยูร. (2557). การศึกษาการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและรูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีตลาดโบราณลาดชะโดอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนนครศรีอยุธยา. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ผู้นำเที่ยวตลาดคนที่ 1. (25 มกราคม 2564). ปัญหาที่พบเห็นของหลาดโบราณ (ตลาดย้อนยุคบ้านบางฉนาก). (จุฑารัตน์ สุดคง และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)
รองนายกเทศมนตรีเมืองปากพนัง. (28 มกราคม 2564). การพัฒนาหลาดโบราณ (ตลาดย้อนยุคบ้านบางฉนาก). (จุฑารัตน์ สุดคง และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)
ร้านขายน้ำดื่มที่ 1. (26 มกราคม 2564). บริบทที่พบเห็นในหลาดโบราณ (ตลาดย้อนยุคบ้านบางฉนาก). (จุฑารัตน์ สุดคง และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)
ร้านขายอาหารที่ 1. (25 มกราคม 2564). ปัญหาที่พบเห็นของหลาดโบราณ (ตลาดย้อนยุคบ้านบางฉนาก). (จุฑารัตน์ สุดคง และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)
ลัดดาวรรณ อาตมาตร. (2560). ตลาดช้อย: การจัดการตลาดในชุมชนเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจ ชุมชนพึ่งตนเอง กรณีศึกษา ชุมชนตลาดช้อย ตำบลนาทราย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ศิริพร สัจจานันท์. (2561). การสำรวจสถานะเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทยและ ทางเลือกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมาย เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สำนักงานเทศบาลเมืองปากพนัง. (2560). ข้อมูลทั่วไป. นครศรีธรรมราช: สำนักงานเทศบาลเมืองปากพนัง.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2559). การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
อาซียะห์ โตะลู. (2559). ตลาดบ้านเขามหาชัย: การจัดการตลาดในชุมชนเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจ ชุมชนพึ่งตนเอง กรณีศึกษา ชุมชนบ้านหน้าเขามหาชัย หมู่ที่ 4 ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
อามีเนาะ เซะอุแต. (2559). ตลาดหลังดาว: การจัดการตลาดในชุมชนเมืองเพื่อเสริมสร้าง เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง กรณีศึกษา ชุมชนหลังดาว ตำบลท่าวัง อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.