การปรับตัววิถีใหม่ของประชาชนในช่วงโควิค-19 กรณีศึกษา ผู้ได้รับผลกระทบถูกเลิกจ้างงาน ชุมชนควนสะตอ ตำบลบางรูป อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบที่ได้รับจากการระบาดของโรคโควิด-19 และ 2) ศึกษาการปรับตัววิถีใหม่ของประชาชนในช่วงโควิค-19 เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2) นายกหรือรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 3) เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง (กำนัน) 4) เจ้าหน้าที่ อสม. 5) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และ 6) ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวนทั้งสิ้น 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลกระทบที่ได้รับจากการระบาดของโรคโควิด-19 ได้รับผลกระทบหลายด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนถูกเลิกจ้างงาน และมีภาระหนี้สินที่ต้องใช้จ่ายอยู่ 1.2) ด้านสังคม ความเป็นอยู่ของประชาชนเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องคอยระมัดระวัง 1.3) ด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ประชาชนมีความเครียดจากการรับรู้ข่าวสารจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน 1.4) ด้านวัฒนธรรม วัฒนธรรม และประเพณีที่เคยปฏิบัติสืบทอดต่อกัน ต้องมีการยกเลิกไป รวมถึงวันสำคัญทางศาสนา และ 2) การปรับตัววิถีใหม่ของประชาชนในช่วงโควิค-19 มีการปรับตัว ได้แก่ 2.1) การประกอบอาชีพใหม่หรืออาชีพเสริมให้พอกับรายจ่าย 2.2) การใช้กลยุทธทางการตลาดโดยใช้สื่อออนไลน์สร้างช่องทางการขายเพิ่ม 2.3) การเสริมสร้างสุขภาวะทางร่างกาย และจิตใจให้เข้มแข็งและมีสติ และ 2.4) การปรับวิถีการดำรงชีวิตใหม่โดยเว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงแออัด งดการสังสรรค์ และควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ index.php
จารุวรรณ กิตตินราภรณ์. (2564). การใช้สื่อกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปกติใหม่ด้านสุขภาพ ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid-19): กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 25(1), 15-34.
เจ้าหน้าที่ อสม. (15 มกราคม 2564). ผลกระทบที่ได้รับจากการระบาดของโรคโควิด-19. (ธนเดช ชัยรักษา, ผู้สัมภาษณ์)
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง (กำนัน). (7 กุมภาพันธ์ 2564). ผลกระทบที่ได้รับจากการระบาดของโรคโควิด-19. (ธนเดช ชัยรักษา, ผู้สัมภาษณ์)
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล. (20 มกราคม 2564). ผลกระทบที่ได้รับจากการระบาดของโรคโควิด-19. (ธนเดช ชัยรักษา, ผู้สัมภาษณ์)
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.
พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2558). ความรู้ อำนาจและสุขภาพ: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2563). รายงานโครงการการพัฒนา กรอบยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโค โรนา 2019 ของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล. (6 กุมภาพันธ์ 2564). ผลกระทบที่ได้รับจากการระบาดของโรคโควิด-19. (ธนเดช ชัยรักษา, ผู้สัมภาษณ์)
ระวิ แก้วสุกใส และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้กับพฤติกรรมการ ดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนจังหวัดนราธิวาส. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(2), 67-79.
ร้านอาหารที่ 1. (6 กุมภาพันธ์ 2564). ผลกระทบที่ได้รับจากการระบาดของโรคโควิด-19. (ธนเดช ชัยรักษา, ผู้สัมภาษณ์)
ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์. (2563). วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร Covid 19 Crisis Affect Social Change. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 3(2), 1-14.
สยามรัฐ. (2563). ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และปรับตัวให้เข้ากับภาวะโควิด-19 ระบาด. เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2563 จาก https://siamrath.co.th/n/165053
สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (2563). โควิด-19. เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2563 จาก https://ostdc.org/th/news/wyudycoz5plhz95hicd19 soyc1al1n
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม จากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 และโครงการภายใต้กรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาท ตาม พ.รก.กู้เงินฯ 1 ล้านล้านบาท. เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2563 จาก http://nscr.nesdb.go.th/wp-content/uploads/2020/07/.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2564). สถานการณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2564 จาก https://www.nakhonsihealth.org
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.
สุพัตรา รุ่งรัตน์. (2564). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลาจังหวัดยะลา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 160-174.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.