การประยุกต์ใช้วัฒนธรรมมโนราห์เป็นฐานในการส่งเสริมการศึกษาของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในชุมชนบ้านปากลัด ตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

วงษ์สิริ เรืองศรี
เพ็ญนภา สวนทอง
พระครู อรุณสุตาลังการ
พระครู วิรัตธรรมโชติ
พระครูวินัยธรสุริยา สุริโย (คงคาไหว)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมมโนราห์ในการจัดการศึกษาของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในชุมชนบ้านปากลัด และ 2) การประยุกต์ใช้วัฒนธรรมมโนราห์เป็นฐานในการส่งเสริมการศึกษาของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในชุมชนบ้านปากลัด ตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิธีการสนทนากลุ่ม โดยเลือกแบบเจาะจง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) หัวหน้าศูนย์สืบสานมโนราห์ปักษ์ใต้ 2) คณะทำงานศูนย์ฯ 3) เด็กและเยาวชนนอกระบบ และ 4) เครือข่ายดูแลเด็กและเยาวชน จำนวนทั้งสิ้น 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมมโนราห์เกิดจากกลุ่มเด็กเยาวชนต้องการสืบทอดภูมิปัญญามโนราห์ รวมตัวกันสร้างกลุ่มมโนราห์ของชุมชน โดยการศึกษาจากหนังสือ สื่อวีดีทัศน์ และครูภูมิปัญญา ด้านการจัดการศึกษามีกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ 1.1) วัฒนธรรมการรำมโนราห์ ประวัติศาสตร์ชุมชน และการดำรงชีวิต 1.2) การพัฒนาฝีมือฝึกร้องฝึกรำ บทร้อง และบทขับ 1.3) การสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายมโนราห์ เครื่องประดับ และ1.4) การประยุกต์เป็นชิ้นงานอย่างสร้างสรรค์ และ 2) การประยุกต์ใช้วัฒนธรรมมโนราห์เป็นฐานในการส่งเสริมการศึกษา ควรมีทักษะการดําเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ตระหนักถึงเหตุผล เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 2.1) การศึกษาพื้นฐานจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการและเชื่อมโยงกับรายวิชา 2.2) ด้านอาชีพใช้ “กิจกรรมเป็นฐาน” 2.3) ด้านทักษะชีวิตเสริมความรู้ ความสามารถบุคคลด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา สังคม และเท่าทันเทคโนโลยี และ2.4) ด้านสังคมและชุมชนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการความรู้ ทักษะ ใช้ชุมชนเป็นฐานเรียนรู้และทุนสังคมเป็นเครื่องมือจัดการเรียนรู้

Article Details

How to Cite
เรืองศรี ว. ., สวนทอง เ. ., อรุณสุตาลังการ พ., วิรัตธรรมโชติ พ., & สุริโย (คงคาไหว) พ. . (2022). การประยุกต์ใช้วัฒนธรรมมโนราห์เป็นฐานในการส่งเสริมการศึกษาของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในชุมชนบ้านปากลัด ตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 5(2), 58–78. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/2215
บท
บทความวิจัย

References

คณะทำงานศูนย์สืบสานมโนราห์ปักษ์ใต้บ้านปากลัด (19 พฤษภาคม 2565). เรื่องการประยุกต์ใช้วัฒนธรรมมโนราห์เป็นฐานในการส่งเสริมการศึกษาของเด็กนอกระบบชุมชนบ้านปากลัด ตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วงษ์สิริ เรืองศรี (สัมภาษณ์).

เครือข่ายดูแลเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา (22 กันยายน 2565). เรื่องการประยุกต์ใช้วัฒนธรรมมโนราห์เป็นฐานในการส่งเสริมการศึกษาของเด็กนอกระบบชุมชนบ้านปากลัด ตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วงษ์สิริ เรืองศรี (สัมภาษณ์).

ชานนท์ ปรีชาชาญ. (2565). โครงการพื้นที่เรียนรู้ทักษะชีวิตศูนย์มโนราห์ปักษ์ใต้บ้านปากลัด ตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพมหานคร: การสนับสนุนทุนจากโครงการจากมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.).

เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในชุมชนบ้านปากลัด (19 พฤษภาคม 2565). เรื่องการประยุกต์ใช้วัฒนธรรมมโนราห์เป็นฐานในการส่งเสริมการศึกษาของเด็กนอกระบบชุมชนบ้านปากลัด ตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วงษ์สิริ เรืองศรี (สัมภาษณ์).

ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ และคณะ. (2559) การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9(3), 29-47.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

รสสุคนธ์ เนาวบุตร. (2557). แนวทางการจัดการศึกษาเรียนร่วมพหุวัฒนธรรม:กรณีศึกษาชุมชนบ้านป่าละอู อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุ่งทิพย์ สุวรรณสถิตย์ และกฤษณา ไวสำรวจ. (2562). การส่งเสริมและการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงมโนราห์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 21(1), 227-244.

วงษ์สิริ เรืองศรี. (2563). “มโนราห์”บนฐานการจัดการวัฒนธรรมร่วม: โนราเติม เมืองตรัง. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 4(2), 12-27.

วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. (2565). “การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ” รวมบทความวิชาการ การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2565.

วิธวิทย์ ประสานศักดิ์ทวี และคณะ. (2560). การจัดการศึกษาตลอดชีวิตโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมของชนเผ่า ญัฮกุร. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2), 110-123.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพมหานคร: สำนัก นายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

หัวหน้าศูนย์สืบสานมโนราห์ปักษ์ใต้บ้านปากลัด (14 พฤษภาคม 2565). เรื่องการประยุกต์ใช้วัฒนธรรมมโนราห์เป็นฐานในการส่งเสริมการศึกษาของเด็กนอกระบบชุมชนบ้านปากลัด ตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วงษ์สิริ เรืองศรี (สัมภาษณ์).

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.