แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการบริหารสถานศึกษาสำหรับโรงเรียน XI GUAN มณฑลยูนนาน ประเทศจีน

Main Article Content

Bai Guojiao
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว
พูนชัย ยาวิราช

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศฯ 2) ศึกษาสาเหตุสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการบริหารจัดการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศฯ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน XI GUAN ของมณฑลยูนนานประเทศจีน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูในโรงเรียน XI GUAN ของมณฑลยูนนานประเทศจีน ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัยพบว่า สภาพของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูในสถานศึกษาโรงเรียน XI GUAN ในรายด้านและภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.07, S.D.= 0.34) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยอยู่ในระดับสูงสุด คือด้านการบริหารงานทั่วไป (gif.latex?\bar{x} = 3.13, S.D. = 0.58) อยู่ในระดับต่ำสุด คือด้านการบริหารงานงบประมาณ (gif.latex?\bar{x} = 3.04, S.D. = 0.52) สาเหตุสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการบริหารจัดการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียน XI GUAN สำคัญที่สุดคือด้านการบริหารงานทั่วไป รองลงมา คือด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงานบุคคล สำหรับขั้นตอนการหาแนวทาง กระบวนการบริหารงานโรงเรียน XIGUANใช้หลักการบริหาร PDCA ซึ่งเป็นกระบวนการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบโดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องการวางแผน (Plan) การดำเนินงานตามแผนงาน (Do) การตรวจสอบ (Check) การปรับปรุงแผนงานวิชาการ (Action)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ นาตัน. (2552). สภาพการดําเนินงานและความคาดหวังในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของโรงเรียนในฝัน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ฉนวน อุทโท. (2552). การศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.

ปถมภรณ์ สุขสอาด. (2551). ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

พรสันต์ ชั้นเจริญ. (2558). สภาพการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

โรงเรียน XI GUAN. (2563). รายงานการประชุมการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานโรงเรียน XI GUAN. จีน: โรงเรียน XI GUAN.

โรงเรียน Xiguan. (2563). ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน Xiguan. จีน: สำนักทะเบียน โรงเรียน Xiguan.

วชิระ ศิริสุนทร. (2550). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายน้ำพองสะอาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4 . ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สนธยา พลศรี. (2564). ความหมายของการพัฒนา. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2564 จาก http://elearning.psru.ac.th/courses/153/lesson2finish.pdf

สมชาย ใจไหว. (2561). รูปแบบการบริหารและการจัดการแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนลุ่มน้ำวัง. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2553). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร พุดมี. (2551). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุศมาน หลีสันมะหมัด. (2560). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารการศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

John D.T. ed. (2009). IT A Dictionary of Physics. United Kingdom: Oxford University Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Schuck G.D. et al. (2004). Methodology Brief: Focus Group Fundamentals. Retrieved October 20, 2020, from https://lib.dr.iastate.