รายงานการประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์อำเภอพระนครศรีอยุธยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

วริยาพัชร วรภัสร์สรกุล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทตามตัวชี้วัดระดับความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ และระดับความเป็นไปได้ของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าตามตัวชี้วัดระดับความเหมาะสมของหลักสูตรและระดับความเหมาะสมของบุคลากร 3) ประเมินกระบวนการตามตัวชี้วัดร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ และร้อยละของการนิเทศติดตามโครงการ และ 4) ประเมินผลผลิตตามตัวชี้วัดทักษะ 4 H ทักษะในศตวรรษที่ 21 และความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงประมาณโดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 110 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 110 คน บุคลากรสถานประกอบการ จำนวน 20 คน บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 20 คน และผู้บริโภค จำนวน 20 คน รวม 305 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย (µ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ơ) และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านบริบท มีคะแนนระดับมากที่สุด (µ = 4.50) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า มีคะแนนในระดับมากที่สุด (µ = 4.54) 3) ด้านกระบวนการ มีคะแนนในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ในระดับ 100 % และ 4) ด้านผลผลิตมีคะแนนในระดับมาก (µ = 4.23) สรุปผลการประเมินโครงการพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด และเมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัดพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 16 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด 9 ตัวชี้วัด และอยู่ในระดับมาก 7 ตัวชี้วัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545.

กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. (ร.ส.พ.).

จิตรา สุขเจริญ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักศึกษา พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนี ชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนี ชลบุรี. สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2556). เครื่องมือวิจัยทางการศึกษา : การสร้างและการพัฒนา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). “รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้,”. วารสาร

ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2), 2-9.

สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: จตุพรดีไซน์.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2559). วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สันติ บุญภิรมย์. (2557). การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น กรุ๊ป.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุรศักดิ์ ฉายขุนทศ. (2560). ยุทธศาสตร์การนำนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ไปสู่การปฏิบัติในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย . มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

Stufflebeam, D. L. & Coryn, C. L. S. (2014). Evaluation theory, models & applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.