การประเมินโครงการนักเรียนไทยสุขภาพดีโรงเรียนวัดเนินยาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการนักเรียนไทยสุขภาพดีโรงเรียนวัดเนินยาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการใน 4 ด้าน คือ 1) ประเมินสภาวะแวดล้อม 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า 3.ประเมินกระบวนการ และ 4) ประเมินผลผลิต กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองและนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเนินยาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 1 คน ครูโรงเรียนวัดเนินยาง จำนวน 8 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 62 คนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ถึงชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ของโรงเรียนวัดเนินยาง จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง รวมกลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งสิ้น 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า การประเมินโครงการนักเรียนไทยสุขภาพดีโรงเรียนวัดเนินยางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ผลการประเมินโดยรวมและรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านปัจจัยนำเข้า ส่วนผลการประเมินรายได้พบว่า 1) การประเมินสภาวะแวดล้อม ผลการประเมินพบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก 2) การประเมินปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินพบว่ามีความเพียงพอ เหมาะสม อยู่ในระดับมาก 3) การประเมินกระบวนการดำเนินงาน ผลการประเมินพบว่ามีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก และ 4) การประเมินผลผลิต ผลการประเมินพบว่ามีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. เรียกใช้เมื่อ 11 มีนาคม 2563 จาก http:www.obec.go.th
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). เด็กไทยรอบรู้สู่สุขภาพดี 4.0.. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: สํานักทันตสาธารณสุข.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล. (2559). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสุขภาพจิตชุมชนแห่งประเทศไทย, 29(1), 14-25.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคมบาง. (2562). รายงานการพัฒนาทันตสุขภาพในโรงเรียน. จันทบุรี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคมบาง.
โรงเรียนวัดเนินยาง. (2562). รายงานสรุปผลโครงการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนวัดเนินยางประจำปีงบประมาณ 2562. จันทบุรี: โรงเรียนวัดเนินยาง.
วิไลวรรณ อธิมติชัยกุล. (2561). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 11 มีนาคม 2564 จาก http://www.kroobannok.com
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. (2561). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2560 จาก http://www.chan1.go.th/
Stufflebeam. (2004). Evaluation Theory. London: SAGE.World Health Organization.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.