การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเกิดจากกระบวนการประนอมข้อพิพาทในประเทศไทย

Main Article Content

ธานี วรภัทร์
วิเชษฐ์ สินประสิทธิ์กุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลสถานการณ์คดีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและศึกษาทบทวนการใช้วิธีการไกล่เกลี่ยโดยศึกษาหลักและทฤษฎีของการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท กฎหมายไทยในปัจจุบันที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในประเทศไทย โดยปัจจุบันการไกล่เกลี่ยมีพัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว เป็นกระบวนการที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพสูง ค่าใช้จ่ายน้อย กระบวนการไกล่เกลี่ยในอดีตที่ผ่านมาเหมาะกับการศึกษาเหตุผลเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยสำเร็จและไม่สำเร็จของการไกล่เกลี่ยที่นำไปสู่ความสำเร็จรวมถึงศึกษาอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นได้กับกระบวนการไกล่เกลี่ยในปัจจุบัน และสามารถนำไปพัฒนากระบวนการที่ระงับข้อพิพาทดังกล่าวนี้ได้ต่อไป คณะผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญของกระบวนการดังกล่าวจึงเห็นควรศึกษาวิจัยโดยเก็บข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้วยโดยศึกษาการไกล่เกลี่ยที่เกิดขึ้นในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ย 11 หน่วย โดยจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีการไกล่เกลี่ยในระบบกระบวนการยุติธรรม กลุ่มที่มีการไกล่เกลี่ยโดยสถาบันหรือหน่วยงานเฉพาะกิจ และกลุ่มที่มีการไกล่เกลี่ยภายใต้กฎหมายของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปสู่การวิเคราะห์และสรุปเพื่อศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับความสำเร็จและอุปสรรคของกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในประเทศไทย นำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านความเชื่อมั่น ด้านมาตรฐานการบริการ ด้านประสิทธิภาพของการบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ย พ.ศ.2562 ด้านขยายศักยภาพในเชิงพื้นที่ และด้านการบริหารจัดการเชิงรุก หากปฏิบัติตามข้อเสนอแนะดังกล่าวจะทำให้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีการพัฒนาและประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขมจุฑา สุวรรณจินดา. (2563). การระงับข้อพิพาททางสัญญาธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ชลัท ประเทืองรัตนา. (2562ก). เจรจาไกล่เกลี่ยไม่เกลี้ยกล่อม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

ชลัท ประเทืองรัตนา. (2562ข). การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง : เส้นทางแห่งการสร้างความเข้าใจร่วมกัน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระ

ปกเกล้า.

โชติช่วง ทัพวงศ์. (2558). คู่มือนักเจรจาไกล่เกลี่ย. นนทบุรี: ศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

นพพร โพธิรังสิยากร. (2552). ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งด้วยการไกล่เกลี่ย เอกสารวิชาการส่วนบุคคลหลักสูตร “ผู้

บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ข.ส.) รุ่นที่ 12 วิทยาลัยการยุติธรรม สํานักงานศาลยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยการยุติธรรม

สํานักงานศาลยุติธรรม .

นพพร โพธิรังสิยากร. (2563). จุดจบความขัดแย้ง : คู่มือไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำหรับผู้นำท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

สมศักดิ์ เอี่ยมพลับใหญ่. (2563). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องและหลังฟ้อง. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.

สรวิศ ลิมปรังษี. (2555). การจัดการความขัดแย้งกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. กรุงเทพมหานคร: สำนักระงับข้อพิพาทสำนักงานศาลยุติธรรม.

อนันต์ จันทรโอภากร. (2558). ทางเลือกในการระงับข้อพิพาท: การเจรจา การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท อนุญาโตตุลาการ.

กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรัชมน พิเชฐวรกุล. (2565). การระงับข้อพิพาททางเลือก. เรียกใช้เมื่อ 7 มิถุนายน 2565 จาก

https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/122222