เจ้าแม่กวนอิม: พัฒนาการความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนสุนทรนนท์ในบ้าน ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

Main Article Content

เพชรวราภรณ์ กอบกิจ
เชษฐา มุหะหมัด
บุญยิ่ง ประทุม
อุดมศักดิ์ เดโชชัย

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับเจ้าแม่กวนอิม 2) ศึกษาสภาพปัญหาความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับเจ้าแม่กวนอิม และ 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับเจ้าแม่กวนอิมของชุมชนสุนทรนนท์ในบ้าน ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวกับในเรื่องความเชื่อและพีธีกรรมเกี่ยวดับเจ้าแม่กวนอิม จำนวน 15 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และนำเสนอข้อมูลในเชิงการพรรณนา ผลจากการศึกษา พบว่า 1) พัฒนาการความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับเจ้าแม่กวนอิม ความเชื่อเรื่องนี้ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล เกิดความเชื่อในกรณีเจ้าแม่กวนอิมประทับทรง เพื่อรักษาคนไข้ ทำนายดวงชะตา ความเชื่อเรื่องคนที่นับถือเจ้าแม่กวนอิมห้ามกินเนื้อวัว 2) สภาพปัญหาความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับเจ้าแม่อิม ในยุคที่มีความเจริญของระบบการรักษาทางแพทย์เป็นปัญหาต่อการพึ่งพาเจ้าแม่กวนอิมลดลง ขาดความสนใจในการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ความเชื่อที่แตกต่างกันทำให้ครอบครัวเกิดการขัดแย้ง การรักษาศีลที่เคร่งครัดทำให้ผู้ที่นับถือยากต่อการปฏิบัติ 3) แนวทางการส่งเสริมความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับเจ้าแม่กวนอิม ด้านจิตใจ ส่งเสริมให้ผู้อื่นรู้จักคิด มีสติ เพื่อไม่ตกเป็นทาสของความหลงผิด ด้านการสืบทอด เผยแพร่ให้กับกลุ่มคนใกล้ตัว ปลูกฝังให้คนรุ่นหลังได้เห็นความสำคัญ ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว คำนึงถึงความรู้สึกของคนในครอบครัวเป็นหลัก ด้านสังคม ส่งเสริมให้คนในสังคมเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเรื่องความเชื่อและพิธีกรรมมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2552). พิธีกรรมและประเพณี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ขวัญแก้ว แสงสีดำ และคณะ. (2562). ม้าทรง: และพิธีกรรมของคนในชุมชนที่มีต่อร่างทรงเจ้ามีกวนอิม กรณีศึกษา ตำหนักเจ้าแม่กวนอิมบ้านนาเหนือ ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน โครงการราชภัฏวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2562 การประชุมวิชาการระดับชาติ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 “นักคิด นักสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรมสู่สังคม”. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

เทพ สงวนกิตติพันธุ์. (2559). ความเชื่อ. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2564 จาก https://www.stou. ac.th/offices/rdec/udon/upload/socities9_10.html

ภัททิรา วิริยะสกุลธรณ์. (2551). บทบาทสื่อพิธีกรรมในการอนุรักษ์แม่น้ำป่าสักของชาวไท-ยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. ใน วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2559). ศาสนาของคนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2564 จาก https://lek-prapai.org/home/view.php?id=816

ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาวิทยานุกรม. (2554). เจ้าแม่กวนอิม (กวนซื่ออิน). เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2564 จาก http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php? title=เจ้าแม่กวนอิม_(กวนซื่ออิน)

สมเกียรติ สัจจารักษ์ และศีรีบูน จงวุฒิเวศย์. (2556). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อรักษาอัตลักษณ์ชาวเลมอแกน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 5(1), 192-201.

สุทิน ทองสีเหลือง. (2539). เจ้าแม่กวนอิม: พระโพธิสัตว์แห่งความเมตตาและความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.

Horoworld. (2563). เปิดตำนาน “เจ้าแม่กวนอิม” เทพเจ้าแห่งความเมตตากรุณา. Retrieved มกราคม 12, 2564, from https://today.line.me/th/v2/article/ mmRXVW

Meebua, S. et al. (2017). Changes in The Way of Life and The Impact of Tourism on The Local Way of Kiriwong Life. Nagabut Journal Review Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 9(1), 128-139.