ยางเครป: กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา กรณีศึกษา ชุมชนลานข่อย หมู่ที่ 3ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

พัชราภรณ์ ขุนรัง
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว
อุดมศักดิ์ เดโชชัย

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา 2) ศึกษาสภาพปัญหาในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา และ 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา กรณีศึกษา ชุมชนลานข่อย หมู่ที่ 3 ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพประชากรกลุ่มตัวอย่างนี้ทั้งหมดจำนวนท 399 ครัวเรือน โดยการเลือกแบบจำเพราะเจะจงได้จำนวน 4 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) การสังเกตแบบ 3) เครื่องบันทึกภาพ  4) เครื่องบันทึกเสียง ผลการวิจัยพบว่า: 1) กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา พบว่า มี 1.1) อุปกรณ์ประกอบด้วย เครื่องจักร คนงาน เข่ง ถุงมือ น้ำยาหล่อยางพารา รถตัก รถไถ รถกระบะเพื่อการขนส่ง หรือมอเตอร์ไฟฟ้า 1.2) ขั้นตอนการทำยางเครป เริ่มจากเปิดเครื่องรีดยางเครป นำยางก้อนถ้วยใส่เข่งแล้วราดด้วยน้ำยาหล่อยางพารา แล้วจึงป้อนเข้าเครื่องจักรรีดเป็นยางเครป จึงเสร็จสิ้นตามกระบวนการ 2) สภาพปัญหากระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา พบว่า 2.1) ปัญหาราคายางตกต่ำ 2.2) ปัญหากลิ่น ส่งผลกระทบต่อคนในชุมชน 3) ปัญหาน้ำเสีย น้ำที่ไหลมาจากการเครปยางทำให้น้ำเสีย 3) แนวทางการส่งเสริมกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา พบว่า 3.1) แนวทางส่งเสริมด้านราคายางตกต่ำ ควรมีการประกันราคายางแก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา 3.2) แนวทางส่งเสริมการควบคุมกลิ่น เมื่อรับซื้อยางก้อนถ้วยแล้วต้องใช้ผ้าใบปิดคลุมยางให้มิดชิด เพื่อไม่ให้กลิ่น และน้ำยางรั่วไหลลงพื้นถนนรบกวนชาวบ้าน 3.3) แนวทางส่งเสริมด้านบำบัดน้ำเสีย ควรมีการส่งเสริมโดยการมีการขุดคูเพื่อให้น้ำที่ไหลจากยางก้อนถ้วย 3.4) แนวทางส่งเสริมกลุ่มอาชีพ เกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ผลิตยางเครป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร วิริยาอรรถกิจ. (2562). ความจำเป็นในการพัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตร โดยจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า: ศึกษากรณีตลาดยางพารา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จตุพร บุรุษพัฒน์. (2560). คพ.รุกดับกลิ่นเหม็นโรงยางพาราทั่วประเทศ เตรียมออกค่ามาตรฐานกลิ่น ป้องกันชุมชนรอบข้าง. ใน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข่าวสารสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 43/2560. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ดำรง ลีนานุรักษ์. (2560). ปัญหายางพารา ต้องวิเคราะห์สาเหตุและวาแนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2561 จาก https://www.technologychaoban.com/marketing/article _41431

นิกร ผัสดี. (2555). การส่งเสริมกลุ่มอาชีพราษฎรขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. เชียงใหม่: หาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประชา คุณธรรมดี. (2557). ปัญหายางพาราของไทย. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2561 จาก https://www.s anook.com /news/1949854/

ปรัชญา วงศา. (2561). การผลิตยางเครป. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2561 จาก https://www.raot.co.th/ewt_news.php?nid=6026&filename=index

ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล. (2560). เอกสารคำแนะนำสำหรับชาวสวนยางคู่มือการผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี. เรียกใช้เมื่อ 4 กันยายน 2561 จาก http://www.raot.co.th/ewt_dl_link.php?nid= 4911

. (2561). อยากผลิตยางเครพ แต่ขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเครื่องเครพ. เรียกใช้เมื่อ 12 กันยายน 2561 จาก http://www.raot.co.th/ewt_dl_link.php?nid=5022

ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล และจักรี เลื่อนราม. (2550). การศึกษาการผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี รายงานผลความก้าวหน้าโครงการการพัฒนาการแปรรูปยางดิบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2561 จาก https://www.raot.co.th/ewt_dl_link.php?nid=4911

รัตน์ เพชรจันทร. (2550). ยางพารา. กรุงเทพมหานคร: มงคลการพิมพ์.

สถิตพันธ์ ธรรมสถิต. (2557). คู่ มือกำกับกรรมวิธีการผลิตในโรงอบ/รมยาง เอกสารประกอบการอบรมเกษตรกร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสงเคราะห์ การทำสวนยาง.

สมชาย สกุลชิต. (2542). ปัญหากลิ่นจากโรงงานยางพารา. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2561 จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER083/GENERAL/DATA0000/00000965.PDF

สมทิพย์ ด่านธีรนิชย์. (2540). การตรวจสอบการจัดการของเสียของโรงงานน้ำยางข้น. สงขลา: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. (2559). การแปรรูปยางพารา. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2561 จาก https://rubberdigest.com/?p=85

อารมณ์ โรจน์สุจริต. (2551). ยางพารา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง.