การจัดการธุรกิจจำหน่ายหอยนางรมเพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มอนุรักษ์หอยนางรมบ้านแหลม หมู่ที่ 3 ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

Main Article Content

ฤชวีร์ ทองชนะ
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว
อุดมศักดิ์ เดโชชัย

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการธุรกิจจำหน่ายหอยนางรมเพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชน ศึกษาปัญหาการจัดการธุรกิจจำหน่ายหอยนางรมเพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชน และศึกษาแนวทางส่งเสริมการจัดการธุรกิจจำหน่ายหอยนางรมเพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มอนุรักษ์หอยนางรมบ้านแหลม หมู่ที่ 3 ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือกลุ่มอนุรักษ์หอยนางรม ชุมชนบ้านแหลม หมู่ที่ 3 ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จำนวน 6 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล 1) สำรวจพื้นที่ในชุมชนเพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้น 2) สร้างความสัมพันธ์ และแนะนำตัวเบื้องต้น 3) ประสานงานโดยใช้เครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูล 4) รวบรวมวิเคราะห์ และสรุปผล  ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการธุรกิจจำหน่ายหอยนางรมเพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชน 1.1) ด้านจัดการคน การทำงานร่วมกันกับสมาชิกในกลุ่ม 1.2) ด้านจัดการเงิน ทางกลุ่มมีการทำระบบบัญชีรายรับ - รายจ่าย 1.3) ด้านวัตถุดิบหรืออุปกรณ์ ถังบรรจุหอยนางรมมีดแคะหอยนางรม 4) ด้านการวางแผน มีการวางแผนร่วมกันกับสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม  2) ปัญหาการจัดการธุรกิจจำหน่ายหอยนางรมเพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชน 2.1) ปัญหาด้านบุคลากร มีสมาชิกบางคนขาดความรับผิดชอบหน้าที่การงาน 2.2) ปัญหาด้านฤดูกาลช่วงมีมรสุมและฝนตกหนักมักจะทำให้หอยนางรมตาย 2.3) ปัญหาด้านทรัพยากร เกิดมลภาวะ 2.4) ปัญหาด้านเงินทุน 2.5) ปัญหาด้านตลาด มีการแข่งขันสูง 3) แนวทางส่งเสริมการจัดการธุรกิจจำหน่ายหอยนางรมเพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชน 3.1) ด้านการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการเปิดเป็นศูนย์อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3.2) ด้านการประกอบอาชีพ เพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพให้กับชุมชน 3.3) ด้านเศรษฐกิจชุมชน มีแนวทางส่งเสริมพัฒนาศักยภาพให้กับระบบเศรษฐกิจชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กอบชัย วรพิมพงษ์. (2560). ความสำเร็จของชุมชนในการกำหนดพื้นที่ห้ามจับหอยหลอดเพื่อการอนุรักษ์. เรียกใช้เมื่อ 25 ตุลาคม 2561 จาก http://www1a.biotec.or.th/BRT/index.php/ biodiversity/334-don-hoi-lord

เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2544). แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน: ข้อเสนอทางทฤษฎีในบริบทต่างสังคม. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์.

ชินรัตน์ สมสืบ. (2539). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

โชคชัย เหลืองธุวประณีต. (2548). หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. กรุงเทพมหานคร: โฟร์เพซ.

นงค์เยาว์ สุภาษร. (2554). การวิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไขการบริหารงานบัญชีตามเกณฑ์คงค้างของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร การค้นคว้าอิสระ. ใน วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบัญชี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชวงคลธัญบุรี.

ผุสดี รุมาคม. (2554). การบริหารธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพมหานคร: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (2545). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย.

พัชราวลัย ศรียะศักดิ์. (2547). ผลกระทบจากสภาพอากาศและฤดูกาลต่อคุณภาพนํ้าในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ. เรียกใช้เมื่อ 2561 ตุลาคม 25 จาก file:///C:/Users/NEXT%20Speed.NEXT-8QCJP5GMTU /Downloads /83021-Article%20Text-201253-1-

pdf

เพชรี ขุมทรัพย์. (2544). หลักการลงทุน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุขใจ น้ำผุด. (2543). กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

เสรี วงษ์มณฑา. (2549). กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

อนันต์ เกตุวงศ์. (2541). หลักและเทคนิคการวางแผน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.