กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ณัฐภัทร ธานินพงศ์
อนุชา รักมั่นคง
เพ็ญนภา ถนอมเกิด
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
พระครููนิติธรรมบัณฑิต (สุริยา คงคาไหว)
ชวนะ ทองนุ่น
เจียร ชูหนู
ทิพย์วรรณ จันทรา
พีระศิลป์ บุญทอง
พระณัฐพงษ์ ไกรเทพ
ศุภฤกษ์ ช่อคง
สุชาติ มสันต์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการเกิดกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชนของกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญใช้การเลือกแบบเจาะจง จำนวน 14 คน แบ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง มีจำนวน 9 คน และผู้ให้ข้อมูลรอง คือ ผู้ที่ส่งเสริม และสนับสนุนการบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีจำนวน 5 คน โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้เนื้อหาที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ผู้ทำการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการการเกิดกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง มี 4 ขั้นตอน คือ 1.1) ขั้นก่อตัวของกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 1.2) ขั้นตอนการรวมตัวกันของกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 1.3) ขั้นการผลิตสินค้าภายในกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 1.4) ด้านขั้นตอนการบริหารจัดการกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 2) สภาพปัญหาของกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง ดังนี้ 2.1) ปัญหาการผลิตกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 2.2) ปัญหาบรรจุภัณฑ์กลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 2.3) ปัญหาด้านการตลาดของกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 4) ปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรี 3) กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กลุ่ม 5 ดังนี้ 3.1) ความพอประมาณกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 3.2) ความมีเหตุผลกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 3.3) การมีภูมิคุ้มกันกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง 3.4) การมีความรู้กลุ่มบ้านสมุนไพร 3.5) การมีคุณธรรมกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ โหย์สิ้น. (2559). การส่งเสริมการตลาด หน่วยที่ 4. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฏฐา พรอำนาจ. (2555). 49 สมุนไพรใกล้ตัว สารพัดรักษาโรค. กรุงเทพมหานคร: ณ ดา.

ณัฐรส เมืองศรี. (2551). กระบวนการกลุ่มอาชีพชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มอาชีพขายไก่ย่าง ชุมชนทางพาด ตำบลคำม่วง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ประหยัด ชํานาญ และสาคร อัฒจักร. (2563). การพัฒนาแนวทางการทํางานเป็นทีมสําหรับสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(76), 77-89.

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (ฉบับที่ 2). (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 50 ก หน้า 32 (16 เมษายน 2562).

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง หน้า 1 (1 พฤศจิกายน 2565).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอพียง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุนันทา เลาหนันท์. (2551). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร: รุ่งวัฒนา.

เสรี พงศ์พิศ และคณะ. (2544). วิสาหกิจชุมชน: แผนแม่บท แนวคิด แนวทาง ตัวอย่างพระราชบัญญัติ. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์.

อภิชัย พันธเสน. (2539). ชุดวิชาการจัดการธุรกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย.