กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่สละบ้านโปน ตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

เผดิมชัย เหมรัตนานนท์
เอกอรุณ ยอดสุวรรณ์
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
จรวยพร เหมรังษี
วิเชษฐ์ สินประสิทธิ์กุล
พระณัฐพงษ์ จันทร์โร
พระครููนิติธรรมบัณฑิต (สุริยา คงคาไหว)
ศักดิ์ดา หารเทศ
ทิพย์วรรณ จันทรา
พีระศิลป์ บุญทอง
เมธาวรินทร์ จำนงค์ธรรม
สุชาติ มสันต์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการเกิดกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่สละบ้านโปน ตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่สละบ้านโปน ตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในกลุ่มชุมชนของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่สละ บ้านโปน ตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่สละบ้านโปน จำนวน 5 คน 2) ผู้ที่ส่งเสริม และสนับสนุนการบริหารจัดการกลุ่มภายใต้ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง มีจำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสละมีการเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว เปลือกมีอาการแห้งอย่างรวดเร็วภายใน 3 - 5 วันเมื่อเก็บรักษา ไว้ที่อุณหภูมิห้อง เนื่องจากเปลือกของสละมีการเรียงตัวกันเหมือนเกล็ดงู ทำให้สละมีอีกชื่อหนึ่งว่า snake fruit ซึ้งลักษณะการเรียงตัวเช่นนี้ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเปลือกเป็นจำนวนมากประกอบกับเปลือกมีการเกาะ เรียงตัวของเส้นใยภายใน เปลือกอย่างหลวม ๆ ทำให้ผลสละมีการคายน้ำ ออกจากผลได้ง่ายและเร็วกว่าไม้ผล ชนิดอื่น อีกทั้งเปลือกของสละมีหนามแหลมไม่สะดวกในการบริโภค 2) ผลผลิตสละบางส่วนอย่างไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ผลสละตกเกรด มีเหลือทิ้งและเน่าเสียใน ปริมาณหนึ่งและกลุ่มชาวบ้านอำเภอพรหมคีรีหรือกลุ่มเกษตรในพื้นนที่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้หลากหลายชนิด 3) มีการพัฒนาและหาวิธีเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่สินค้าด้วย ซึ่งจะมีผลทำ ให้ชุมชนสามารถพึ่งพา ตนเองได้และมีความยั่งยืนตลอดไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ โหย์สิ้น. (2559). การส่งเสริมการตลาด หน่วยที่ 4. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กลุ่มคุ้มครองจริยธรรม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอพียง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

กาญจนา ไชยพันธุ์. (2549). กระบวนการกลุ่ม. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

จุติพร ฮกอั้น. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงแบบมีส่วนร่วมบนฐานทรัพยากรชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มสตรีทำเครื่องแกงบ้านหัวเกาะช้าง ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(3), 96-110.

นงเยาว์ อุดมวงศ์ และคณะ. (2012). การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพยาบาลสาร, 39(พิเศษ), 97-106.

ประทีป วีรพัฒนนิรันดร์. (2540). เศรษฐกิจชุมชน : ทางรอดที่ยั่งยืนของชาติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัย และให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณา กองสังข์. (2565). ประเมินการปฏิบัติงานด้านส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจําหมู่บ้าน ตําบลโคกมน อําเภอน้ําหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 1(1), 47-57.

เสรี พงศ์พิศ และคณะ. (2544). วิสาหกิจชุมชน: แผนแม่บท แนวคิด แนวทาง ตัวอย่างพระราชบัญญัติ. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์.

อภิชัย พันธเสน. (2539). ชุดวิชาการจัดการธุรกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย.

อำไพ กุลบุตรดี. (2564). การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการน้ำเสียตามหลักพุทธธรรม: กรณีศึกษาบริษัทผลิตเครื่องสำอางในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 17(1), 44-57.