การพัฒนากลยุทธ์การบริหารและการจัดการหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0 ของโรงเรียนบ้านมนตรีวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0 ของโรงเรียนบ้านมนตรีวิทยา เป็นวิธีวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา มี 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารหลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารหลักสูตร จำนวน 22 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ศึกษาเหตุปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริหารหลักสูตร และสภาพอนาคตที่พึงประสงค์การบริหารหลักสูตร ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิมีความรู้ความสามารถด้านการจัดการศึกษา จำนวน 8 คน สัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และ 3) พัฒนากลยุทธ์บริหารจัดการหลักสูตร ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารหลักสูตร จำนวน 10 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการหลักสูตร ได้แก่ 1.1) คุณภาพของผู้เรียน ภาพรวมคะแนนเฉลี่ยระดับพอใช้ ร้อยละ 54.65 1.2) กระบวนทางการบริหารและการจัดการหลักสูตร ภาพรวมคะแนนเฉลี่ยระดับพอใช้ และ3) กระบวนการเรียนการสอนเน้นผู้เรียน ภาพรวมมีระดับดีมาก (µ = 3.99) 2) เหตุปัจจัยส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริหาร และสภาพที่พึงประสงค์ ได้แก่ 2.1) คุณภาพของผู้เรียน 2.2) การบริหารและการจัดการหลักสูตร 2.3) กระบวนการเรียนการสอนเน้นผู้เรียน ควรกำหนดนโยบาย กรอบแนวคิด ทิศทาง เกณฑ์ประเมินเป็นระบบ และ 3) พัฒนากลยุทธ์ ได้แก่ 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก้าวสู่การศึกษาไทย 4.0 3.2) เสริมสร้างทักษะชีวิตยุค 4.0 3.3) ระบบบริหารและการจัดการศึกษา 3.4) ส่งเสริมสนับสนุนศักยภาพครูและบุคคลกร 3.5) การจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 และ 3.6) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมชุมชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ครูผู้สอนท่านที่ 1. (9 สิงหาคม 2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารและการจัดการหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0 ของโรงเรียนบ้านมนตรีวิทยา. (ศรัญญู ศรีสุข, ผู้สัมภาษณ์)
จันทร์จิรา บุรีมาศ และอดุล นาคะโร. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 9(2), 114-132.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2557). เทคนิคการบริหารสาหรับผู้บริหารมืออาชีพ. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
ธงชัย สิทธิกรณ์. (2564). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.
ผู้บริหารสถานศึกษา. (9 สิงหาคม 2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารและการจัดการหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0 ของโรงเรียนบ้านมนตรีวิทยา. (ศรัญญู ศรีสุข, ผู้สัมภาษณ์)
ไพทูรย์ สินลารัตน์. (2561). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชยานนท์ สุทธโส. (2559). การพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครภายใต้บริบทอาเซียนในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2556 - 2565). ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศุภวิชญ์ ไชยมงคล. (2563). การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารและการจัดการหลักสูตร กลุ่มสารการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0 ของโรงเรียนผ่านศึกสงเคราะห์ 2. Journal of Education Academic Chiang Rai Rajabhat University, 5(2), 110-120.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. เชียงราย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวง ศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.
โสภา อำนวยรัตน์. (2560). การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพการจัด การศึกษาแบบยึดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาเป็นฐานด้านการอาชีวศึกษาที่มี ประสิทธิภาพของการศึกษาไทยยุค 4.0. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.
อลิษา สืบสิงห์. (2558). การศึกษาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 361-369.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2564). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 14 ธันวาคม 2564 จาก https://www.trueplookpanya.com
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.