แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

Main Article Content

สะไบทิพ อุปละ
พูนชัย ยาวิราช
สุวดี อุปปินใจ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ฯ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ฯ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ฯ ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร คณะครูโรงเรียนโรงเรียนราชประชา นุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) จำนวน 104 คน ใช้กระบวนการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามแนวทางการเพิ่ม ประสิทธิภาพฯ สถิติที่ใช้ประกอบไปด้วย การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ฯ ตามหลักการบริหารแบบ POLC พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งขั้นตอนการวางแผน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) วิสัยทัศน์ 2) ทีมร่วมแรงร่วมใจ 3) ภาวะผู้นำ 4) การเรียนรู้ 5) ชุมชนกัลยาณมิตร 6) โครงสร้างสนับสนุนชุมชน 3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ฯ ที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และสอดคล้องกับภาพอนาคตที่พึงประสงค์ ครอบคลุม การบริหารงานคุณภาพ POLC พบว่า 1) การวางแผน (Plan) สถานศึกษา ต้องมีการวางแผนและหาแนวทางให้สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา 2) การจัดองค์การ (Organizing) สถานศึกษาต้องจัดโครงสร้างการทำงานแบบกัลยาณมิตร 3) ด้านผู้นำ (Leading) ผู้บริหารส่งเสริม และเปิดโอกาสให้ครูบุคลากร มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 4) ด้านการควบคุม (Controlling) สถานศึกษาต้องทำรายงานการดำเนินงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษ เพิ่มทันจิตต์. (2552). เอกสารคำบรรยายวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์. เรียกใช้เมื่อ 2 ตุลาคม 2563 จากhttp://nidamppm14.files.wordpress.com

ธีรเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2562). ประชาชาติธุระกิจ. เรียกใช้เมื่อ 7 ตุลาคม 2563 จาก https://www.prachachat.net/education/news-306941

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2551). โน้ตย่อบริหาร. เชียงใหม่: ออเร้นจ์ กรุ๊ป ดีไซด์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พงษ์ศักดิ์ ปัญจพรผล. (2542). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏนครปฐม.

ไพผกา ผิวดำ. (2564). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 11-18.

มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา. (2561). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในโรงเรียนสุขภาวะ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2549). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท). (2562). ข้อมูลกองงานทั่วไปโรงเรียนราชประชานุเคราะห์15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท). เรียกใช้เมื่อ 8 ตุลาคม 2563 จาก https://web.rpg15.ac.th/

ส่งศรี ชมพูวงศ์. (2547). การวิจัย. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัชนครศรีธรรมราช.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ชุมชนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). คู่มือประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.