การพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีงานทำ มีอาชีพให้กับนักเรียน ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10 ด้วยรูปแบบ DPSS โรงเรียนอ่างทองพัฒนา (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 4)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีงานทำ มีอาชีพให้กับนักเรียน ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10 ด้วยรูปแบบ DPSS โรงเรียนอ่างทองพัฒนา (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 4) 2) เพื่อสร้างรูปแบบ ฯ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ ฯ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบ ฯ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) มีขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบ DPSS ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบ DPSS ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ DPSS และ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบ DPSS ประชากร ได้แก่ นักเรียนที่เรียนกิจกรรมชุมนุมของโรงเรียนอ่างทองพัฒนา (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ และ 4) ในปีการศึกษา 2564, 2565 และ 2566 จำนวน 116, 122 และ 119 คน ตามลำดับ โดยการเลือกแบบเจาะจง และครูที่เป็นที่ปรึกษากิจกรรมชุมนุม ในปีการศึกษา 2564, 2565 และ 2566 จำนวน 12, 12 และ 12 คน ตามลำดับ โดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบ DPSS ได้แก่ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ปัจจัยการบริหาร กระบวนการบริหาร และผลลัพธ์ 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบ DPSS ในปีการศึกษา 2564 พบว่า ระดับคุณลักษณะผู้เรียนด้านการมีงานทำ มีอาชีพของนักเรียน และระดับผลการปฏิบัติตามรูปแบบ DPSS ของครู ในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ DPSS ในปีการศึกษา 2565 และ 2566 พบว่า ระดับคุณลักษณะผู้เรียนด้านการมีงานทำ มีอาชีพของนักเรียน และระดับผลการปฏิบัติตามรูปแบบ DPSS ของครู ในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผลการประเมินรูปแบบ DPSS พบว่า ในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จารุวรรณ บุญโต. (2566). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10 ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก. ปราจีนบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก.
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และปรียานุช ธรรมปิยา. (2562). ตามรอยพ่อชีวิตพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร: ออลปริ้นท์ เซ็นเตอร์.
นงนุช ชุมภูเทพ และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2562). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมอาชีพของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงและทุรกันดาร ในเขตภาคเหนือด้านตะวันตก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(4), 142-153.
นรินทร์ สังข์รักษา. (2555). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาสน์: กรุงเทพมหานคร.
เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. (2566). กระบวนทัศน์การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เยาวลักษณ์ เกษรเกศรา. (2565). การพัฒนารูปแบบบริหารการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมากหัววัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ใน การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 22 “ชีวิตใหม่ของการศึกษาในสังคมดิจิทัล. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
โรงเรียนอ่างทองพัฒนา (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 4). (2566). นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การน้อมนำพระบรมราโชบาย: ด้านการศึกษา มีงานทำ มีอาชีพ สู่การปฏิบัติ. กำแพงเพชร: โรงเรียนอ่างทองพัฒนา (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 4).
สายเพ็ญ บุญทองแก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2563). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
Akram, A. et al. (2023). Antecedents and Consequences of Sustainable Career: A Conceptual Model. Journal of Development and Social Sciences, 4(1), 261-272.
Karaca-Atik, A. et al. (2023). Uncovering Important 21st-Century Skills for Sustainable Career Development of Social Sciences Graduates: A Systematic Review. Educational Research Review, 39(1), 1-15.
Keeves, J. P. (1988). Model and Model Building in Education Research, Methodology and Measurement. Oxford: Pergamon Press.