การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้ Game-based Learning บูรณาการวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟัง อย่างมีวิจารณญาณและการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้ GBL บูรณาการวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังอย่างมีวิจารณญาณและการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ Game-based Learning บูรณาการวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังอย่างมีวิจารณญาณและการคิดวิเคราะห์ ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ Game-based Learning บูรณาการวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดวิเคราะห์ ซึ่งใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ออกแบบและพัฒนาร่างรูปแบบการเรียนการสอนโดยโดยใช้ Game-based Learning การทดลองใช้ และการประเมินและปรับปรุง ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้ Game-based Learning บูรณาการวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังอย่างมีวิจารณญาณและการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาได้สำเร็จ โดยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนการจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผลให้ผู้เรียนทราบ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เนื้อหาหลักสูตรฝึกอบรม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียน การสอนโดยใช้ GBL บูรณาการวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดวิเคราะห์ ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา พบว่าผลการเปรียบเทียบความสามารถในการฟังอย่างมี วิจารณญาณ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังการใช้ รูปแบบการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการเรียนการ สอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คัมภีรภาพ คงสารวย. (2563). การศึกษาประสิทธิภาพและทัศนคติของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ต่อการใช้สื่อการเรียนภาษาอังกฤษ ชุดการฟังอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(2), 670-682.
จรูญศักดิ์ บุญญาพิทักษ์. (2553). เอกสารประกอบการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
วิเศษ ชาญประโคน. (2550). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
สนิท บุญฤทธิ์. (2 กันยายน 2567). วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม และวรรณกรรมที่ควรนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอน. (นิดาริน จุลวรรณ, ผู้สัมภาษณ์)
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: วงศ์สว่างพับลิชชิ่งแอนด์พริ้นติ้ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักนโยบายด้านการศึกษามหภาค. (2553). เป้าหมายยุทธศาสตร์และตัวบ่งชี้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวลักษณ์ เมฆแดง. (2555). การพัฒนาแบบฝึกการฟังอย่างมีวิจารณญาณสาหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรรชนิดา หวานคง. (2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารญาณสังวร, 87(2), 303-310.