เครือข่ายคนดีกับการลดอาชญากรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเครือข่ายคนดีกับการลดอาชญากรรม ซึ่งประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตอาชญากรรมที่รุนแรง โดยมีอัตราการก่ออาชญากรรมเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคอาเซียน ติดอันดับ 4 ของเอเชียและติดอันดับ 4 ของโลก สถานการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาคนล้นคุกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้รัฐบาลจะทุ่มงบประมาณมหาศาลในการปราบปราม แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม ยิ่งปราบปรามมากเท่าไร จำนวนคดีกลับยิ่งเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวในการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ การเสื่อมถอยของเครือข่ายคนดีในปัจจุบันได้ส่งผลให้สังคมไทยขาดภูมิคุ้มกันทางศีลธรรม เปิดช่องให้ปัญหาอาชญากรรมเติบโตอย่างรวดเร็ว การฟื้นฟูเครือข่ายคนดีผ่านองค์กรพุทธศาสนาที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนและแบ่งงานกันทำอย่างเป็นระบบ จึงเป็นกุญแจที่สำคัญในการแก้ปัญหาอาชญากรรมอย่างยั่งยืน ในอดีตสังคมไทยมีพุทธศาสนาเป็นเสาหลักสำคัญในการหล่อหลอมจิตใจและพฤติกรรมของผู้คน ผ่านการสร้าง "เครือข่ายคนดี" อันเป็น "เครือข่ายกัลยาณมิตร" ที่เชื่อมโยงระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน เชื่อมโยงไปสู่ "องค์กรพุทธศาสนา" เป็นส่วนสำคัญที่จะนำเอาศีลธรรมไปสู่กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ผสมผสานกับศิลปวัฒนธรรมของไทยซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่ประชาชน โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมประสานเครือข่ายเหล่านี้ สถิติที่น่าตกใจในการก่ออาชญากรรมสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้รัฐบาลจะทุ่มงบประมาณในการแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม ยิ่งปราบปรามมากเท่าไร จำนวนคดีกลับยิ่งเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นที่ต้องสร้างเครือข่ายคนดีเพื่อลดปัญหาอาชญากรรมให้ลดน้อยลง ผ่าน P-E-A-C-E โมเดล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2537). ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, สิงคาลกสูตร เล่มที่ 11. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546ก). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546ข). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 10). เรียกใช้เมื่อ 4 ธันวาคม 2566 จาก https://drive.google.com/file/d/1xEGFDF2uF56jD3HMvEwhIRRK4pFju1Te/view
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2540ก). พุทธธรรม. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2540ข). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิพระดาบส. (2560). แนวพระราชดำริด้านการพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพระดาบส.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. 2561. เรียกใช้เมื่อ 4 ธันวาคม 2566 จาก https://www.papayutto.org/th/dhamma_books
สำนักงาน ป.ป.ส. (2566). รายงานผลการดำเนินงานด้านนโยบายยาเสพติด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2566). รายงานสถิติพระสงฆ์และสามเณรในประเทศไทย พ.ศ. 2566. เรียกใช้เมื่อ 4 ธันวาคม 2566 จาก https://www.onab.go.th/th/page/item/index/id/1
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565ก). รายงานสถิติทางศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565ข). รายงานประชากรตามศาสนาในประเทศไทย พ.ศ. 2565. เรียกใช้เมื่อ 4 ธันวาคม 2566 จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/statistics_and_indicators?impt_branch=304
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). รายงานสถานการณ์ประชากรไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักราชเลขาธิการ. (2515). พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส. กรุงเทพมหานคร: สำนักราชเลขาธิการ.
Aristotle. (1885 a). The Nicomachean ethics of Aristotle (F. H. Peters, Trans.). London: Kegan Paul, Trench.
Aristotle. (1885 b). The Nicomachean ethics of Aristotle (F. H. Peters, Trans.). London: Kegan Paul, Trench.
Baier, C. J. & Wright, B. R. E. (2001). Too much of a good thing? The relationship between religious beliefs and delinquency. Criminology, 39(2), 443-468.
Clear, T. R. & Sumter, M. (2002). Prison religion, in-prison social support, and recidivism of male inmates. Journal of Research in Crime and Delinquency, 39(3), 257-280.
Desmond, M. (2012). How religion prevents school bullying. Oxford Review of Education, 38(3), 371-390.
Human Rights Watch. (2004). Thailand's War on Drugs. New York: HRW Publications.
INTERPOL. (2024). International Crime Classification Framework. Lyon: INTERPOL General Secretariat.
Johnson, B. R. (2005). Religious conversion and desistance from crime: Forging a general theory. Justice Quarterly, 22(2), 201-230.
Johnson, B. R. et al. (2008). Religious programs, institutional adjustment, and recidivism among former inmates in prison fellowship programs. Justice Quarterly, 25(2), 276-305.
Kania, J. & Kramer, M. (2011). Collective impact. Stanford Social Innovation Review, 9(1), 36-41.
Kerpelman, J. L. (2006). Development during adolescence and young adulthood: A dynamic systems approach. California: Sage Publications.
Lipsey, M. W. & Cullen, F. T. (2007). The effectiveness of correctional rehabilitation: A review of systematic reviews. Annual Review of Law and Social Science, 3(1), 297-320.
Miller, R. (2021). Mindfulness and crime reduction: A Buddhist approach. London: Routledge.
O’Brien, B. (2010). Tzu Chi: Serving with compassion. Bangkok: John Wiley & Sons.
Pearce, M. J. & Koenig, H. G. (2015). Spirituality and resilience in young people facing life challenges. Journal of religion and health, 54(3), 885-898.
Putnam, R. D. (1995). Bowling alone: America's declining social capital. Journal of Democracy, 6(1), 65-78.
Regnerus, M. et al. (2006). Who gives, who volunteers? Religious influences on giving and volunteering in the United States. Journal for the Scientific Study of Religion, 45(1), 1-18.
Royal Thai Police. (2023). Crime Statistics Report 2023. Bangkok: RTP Publishing.
Smith, J. (2019). Buddhist Ethics and Social Harmony. Journal of Religious Studies, 22(3), 33-45.
United Nations Office on Drugs and Crime. (2023a). Global Study on Crime Types and Trends. Vienna: UNODC Publication.
United Nations Office on Drugs and Crime. (2023b). World Crime Report 2023. Vienna: UNODC Publication.
Wilcox, C. (2010). What makes people more religious? A comprehensive sociological explanation. Sociology of Religion, 71(4), 441-471.
Williams, R. N. & Hicklin, W. (2000). Building healthy communities through spiritual and religious leadership. Journal of Community Psychology, 28(2), 139-150.