การส่งเสริมนวัตกรรมการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาในการทำเรือพนมพระ บนฐานข้อมูลดิจิทัลออนไลน์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

พระครูปริยัติธำรงคุณ
พระครูปริยัติคุณาวุธ
นิคม ปักษี
โสภณ บัวจันทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาและพัฒนาการการทำเรือพนมพระ 2) พัฒนากิจกรรมการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญา และ 3) ส่งเสริมนวัตกรรมการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาในการทำเรือพนมพระบนฐานข้อมูลดิจิทัลออนไลน์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ กลุ่มผู้รู้ในการทำเรือพนมพระ จำนวน 19 ราย และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องการจัดงานชักพระ จำนวน 12 ราย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ภูมิปัญญาและพัฒนาการการทำเรือพนมพระได้แก่ ความเชื่อ รูปแบบวัสดุอุปกรณ์ในการทำ รูปแบบการตกแต่งและวัสดุอุปกรณ์ในการทำ การพัฒนากิจกรรมการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญา มีพัฒนาการของการทำเรือพนมพระคือ ใกล้วันงานจะเริ่มเตรียมงานนับแต่วันเข้าพรรษา จากนั้นจัดทำแบบร่าง จัดหาอุปกรณ์และโครงสร้างเพื่อนำไปสู่เริ่มงานโครงสร้างเรือพนมพระโดยการขึ้นโครงเหล็กจากนั้นตกแต่งเรือและบุษบก รวมถึงการประกอบส่วนต่าง ๆ เก็บสี ประดับไฟ ตกแต่งเรือและหลังจากนั้นจะเป็นงานตกแต่งผ้า ส่งเสริมนวัตกรรมการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาในการทำเรือพนมพระบนฐานข้อมูลดิจิทัลออนไลน์ โดยการส่งเสริมนวัตกรรมสำคัญ เพื่อเกิดการอนุรักษ์ควรจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศภูมิปัญญาพื้นบ้าน พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และปรับปรุงประเพณีให้เหมาะสมกับยุคสมัยและมีประโยชน์ในการดำรงชีวิต มีเครือข่ายการอนุรักษ์และแฟลตฟอร์มได้แก่ เครือข่ายคณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 112 วัด เครือข่ายราชการ จำนวน 41 องค์กร และเครือข่ายเอกชน จำนวน 7 กลุ่ม

Article Details

How to Cite
พระครูปริยัติธำรงคุณ, พระครูปริยัติคุณาวุธ, ปักษี น. ., & บัวจันทร์ โ. . (2025). การส่งเสริมนวัตกรรมการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาในการทำเรือพนมพระ บนฐานข้อมูลดิจิทัลออนไลน์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(1), 1–15. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/6420
บท
บทความวิจัย

References

กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์กรมศิลปากร. (2536). ประเพณีชักพระหรือลากพระ. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

เจษฎ์ พรมวังขวา. (2559). การอนุรักษ์และสืบสานประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน บ้านฝายมูล อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธวัชชัย กูลนรา. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประเพณีไทยดอทคอม. (2566). ประเพณีท้องถิ่นใต้-ลากพระหรือชักพระ. เรียกใช้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566 จาก http://www.openbase.in.th/node/7373

พยงค์ พรหมชาติ. (2549). ศึกษาทัศนศิลป์และความเชื่อที่ปรากฏในเรือพระเมืองนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พระมหาฐิติพงศ์ ชูจิตต์. (2561). บทบาทของพระสงฆ์ต่อการมีส่วนร่วมในการสงวนรักษาประเพณีชักพระจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับบาลี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐศาสตร์ สุขสวัสดิ์. (2550). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้าน เรื่อง ประเพณีลากพระ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบางดาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 5. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิจิตรา อุตมะมุณีย์ และคณะ. (2555). กระบวนการมีส่วนร่วมในการสืบทอดภูมิปัญญาขบวนแห่เรือพระชุมชนบ้านเขาแก้ว จังหวัดสงขลา. วารสารศิลปศาสตร์, 4(2), 54-61.

สมเกียรติ ภูมิศิริไพบูลย์. (2541). ศึกษาการทำเรือพระในจังหวัดสงขลา. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2529). นาค: ในวัฒนธรรมภาคใต้ ในสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ. 2529. สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ.

อังกูล สมคะเนย์. (2553). รูปแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.