การประยุกต์ใช้หลักนิติธรรมและธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาวิทยาลัยชุมชนอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
แนวทางการประยุกต์ใช้หลักนิติธรรมและหลักธรรมาภิบาลมาในการพัฒนาวิทยาลัยชุมชนสู่ความยั่งยืน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพจากเอกสารชั้นรอง โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการพัฒนาวิทยาลัยชุมชนให้เกิดความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ต้องอาศัยหลักนิติธรรมและหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ โดยหลักนิติธรรมจะมุ่งเน้นในด้านการดำเนินงานที่เป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมในทุกมิติ ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรและโครงสร้าง 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการบริหารงบประมาณที่จำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และมีระบบควบคุมการตรวจสอบที่ละเอียดและรัดกุม 4) ด้านการบริหารบุคคล การสรรหา พัฒนาบุคลากร และการประเมินผลตามเกณฑ์ที่ชัดเจน และ 5) ด้านการบริหารทั่วไป โดยที่ผู้บริหารต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด และส่งเสริมจิตสำนึกด้านนิติธรรมในองค์กรผ่านการฝึกอบรม การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและชัดเจน และการเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลจะช่วยให้การบริหารเกิดความมีประสิทธิภาพใน 6 หลักการ ได้แก่ ครอบคลุมหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่าซึ่งการบูรณาการหลักการเหล่านี้ในทุกด้านของการบริหารจัดการจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาในองค์กร และช่วยลดปัญหาการทุจริต อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่มีคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้วิทยาลัยชุมชนสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพในลำดับต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิรวรรณ เทียนทอง. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของวิทยาลัยชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 16(2), 45-58.
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2549). อาวุธมีชีวิต? : แนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความรุนแรง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ฟ้าเดียวกัน.
ไชยวัฒน์ ค้ำชู และคณะ. (2545). ธรรมภิบาล=Good governance/Sam Agere. กรุงเทพมหานคร: น้ำฝน.
ธนภณ ธรรมรักษ์. (2567). ธรรมาภิบาลกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในวิทยาลัยชุมชน. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 10(1), 89-102.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2562). แนวทางปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
นงลักษณ์ พหลภาคย์. (2565). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลในวิทยาลัยชุมชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(3), 156-170.
ปิยะนุช สุวรรณโชติ. (2565). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาลัยชุมชนตามหลักธรรมาภิบาล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 41(2), 89-104.
พระอุทิศ สมฺมาภาณ. (2564). การใช้หลักพุทธวิธีในการบริหารการศึกษา. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 9(1). 183-196.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2564). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(1), 78-90.
พีรพล ไทยทอง. (2560). ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐยุค ใหม่ไทยแลนด์ 4.0. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2). 607-616.
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์ และคณะ. (2564). หลักพัฒนศึกษา : จตุรภาคของการศึกษาเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2565). คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน. กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมศักดิ์ บุญประเสริฐ และคณะ. (2565). การพัฒนาตัวบ่งชี้ธรรมาภิบาลในการพัฒนาวิทยาลัยชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(2), 123-138.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2562). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. เรียกใช้เมื่อ 28 ธันวาคม 2567 จาก https://www.opdc.go.th/content/Mzkx
สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน. (2562). แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิทยาลัยชุมชน ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2561-2565. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิทยาลัยชุมชน.
เสถียร เศรษฐสิทธิ์. (2559). นิติปรัชญาและหลักนิติธรรมในรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อดิเทพ อุยยะพัฒน์. (2565). บทบาทของหลักนิติธรรมในกฎหมายมหาชน. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อภิชัย พันธเสน. (2563). กรอบวิจัยกลางในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2566). "เอนก" ชู วชช.ธงนำการอุดมศึกษาไทยที่สร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อคนยากไร้ ชายขอบ กลุ่มชาติพันธุ์ ให้สามารถประกอบอาชีพหรือต่อยอดได้ทันที. เรียกใช้เมื่อ 28 ธันวาคม 2567 จาก https://mgronline.com/qol/detail/9660000007707
Bingham, T. (2010). The Rule of Law. London: Penguin Books.
Hutchinson, A. C. (2018). The Rule of Law: A Twentieth-Century Perspective. Cambridge: Cambridge University Press.
Kerlinger. (1968). Foundations of Behavior Research. Japan: CBS.
Scott. (1990). A matter of record: Documentary sources in social research. Polity press: Cambridge.
Scott. (2006). Documentary research. London: Sage.
Tamanaha, B. Z. (2004). On the Rule of Law: History, Politics, Theory. Cambridge: Cambridge University Press.
World Bank. (1992). Governance and Development. Washington, DC: World Bank.