การบริหารความขัดแย้งในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 2

Main Article Content

ธรณ์ธนัท กวินโชติวณิชย์
พณกฤษ บุญพบ
นพรัตน์ ชัยเรือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการบริหารความขัดแย้งในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาความผูกพันในองค์กรของครู 3) ศึกษาการบริหารความขัดแย้งในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู 4) ศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารความขัดแย้งในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กระบวนการวิจัยมีดังนี้ 1) ศึกษาการบริหารความขัดแย้งในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู 327 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ 2) ศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารความขัดแย้งในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาครู โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง 9 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารความขัดแย้งในศตวรรษที่ 21อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. =0.43) 2) ความผูกพันในองค์กรของครู อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. =0.47) 3) การบริหารความขัดแย้งในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู คือ การร่วมมือ การประนีประนอม การหลีกเลี่ยงและการใช้เทคโนโลยีในการบริหารองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 4) แนวทางพัฒนาการบริหารความขัดแย้งในศตวรรษที่ 21 จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ 1) การร่วมมือ 2) การหลีกเลี่ยง 3) การประนีประนอม 4) การแข่งขัน 5) การใช้เทคโนโลยีในการบริหารองค์กร 25 ข้อ

Article Details

How to Cite
กวินโชติวณิชย์ ธ. ., บุญพบ พ. ., & ชัยเรือง น. . (2025). การบริหารความขัดแย้งในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(3), 72–84. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7225
บท
บทความวิจัย

References

จิรกานต์ วงค์ลังกา. (2565). การบริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ลำปาง ลำพูน. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

จุฑาทิพย์ สุจริตกุล. (2565). การบริหารความขัดแย้งในองค์กร. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(48),1-16.

เจนจิรา อุปนันชัย. (2566). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

ณัชชรีย์ คำไพ. (2564). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ณัฐณิการ์ แก้วสุธา. (2563). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ณัฐนนท์ จิตต์สนอง และคณะ. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันในองค์กรของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันในองค์กรของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่. การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี.วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 8(2), 29-114.

น้ำเพชร ชัยชมภู. (2565). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

เพ็ญนภา เจริญพงศ์. (2563). การศึกษาสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ลูกน้ำ เจนหัดพล. (2564). ความผูกพันของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ศรัณย์รัชต์ ศุภรณ์พานิช. (2564). แนวทางการพัฒนาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6. วารสารวิชาการ Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(12),70-83.

สัญญา บุปผาชาติ. (2563). การศึกษาการบริหารความขัดแย้งภายในองค์กรที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทเวสเทิร์นดิจิตอล(ประเทศไทย) จำกัด สาขาบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. (2567). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566 - 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566. เรียกใช้เมื่อ 22 เมษายน 2567 จาก http://www.nst2.go.th/home/index.php/2020-06-17-11-58-17

สุคนธ์ฑา สินธุรัตน์. (2561). รูปแบบการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษรูปแบบการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

อนุสรา สิงห์โต. (2561). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.