การประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงระบบกับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ผู้บริหารสถานศึกษายอดเยี่ยม การจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนบ้านตาเรือง (ตำรวจชายแดนสงเคราะห์)

Main Article Content

คมกริช อันทรง
ทัชชัย ผ่องสวัสดิ์
เริงวิชญ์ นิลโคตร
วัยวุฒิ บุญลอย

บทคัดย่อ

แนวคิดการบริหารเชิงระบบเกี่ยวข้องกับมุมมองการพัฒนาที่เชื่อมโยงกันของระบบต่าง ๆ ในองค์กร ระบบย่อยแต่ละระบบ ทำงานพึ่งพากันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันแบบองค์รวม โรงเรียนบ้านตาเรืองฯ ได้พัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้รูปแบบ BANTARUANG 4G Model ประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ ได้แก่ 1) การระดมความคิด: การรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน 2) พัฒนาทัศนคติ: การส่งเสริมทัศนคติเชิงบวกในการดูแลรักษาสุขภาพทั้งครูและผู้เรียน 3) การพัฒนาแผนที่ทันสมัย: การพัฒนาแผนเชิงกลยุทธ์ด้านสุขภาพ 4) ทีม: การสร้างทีมงานคุณภาพ และร่วมมือกัน 5) การกำหนดเป้าหมายความสำเร็จ: กำหนดเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว 6) ความรับผิดชอบ: การส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกัน 7) ความเข้าใจ: การสร้างความเข้าใจการทำงานในทุกระดับ 8) กิจกรรมที่ดี 4 ประการ ได้แก่ ความรู้ที่ดี กิจกรรมที่ดี สภาพแวดล้อมที่ดี และการกำกับดูแลที่ดี 9) เครือข่าย: การสร้างเครือข่ายในการสนับสนุนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ และ 10) การเติบโตอย่างต่อเนื่อง: การพัฒนาคุณภาพการศึกษาควบคู่กับการส่งเสริมด้านสุขภาพ บทสรุป การประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงระบบกับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) โรงเรียนบ้านตาเรืองฯ เป็นแนวทางเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาพและยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยรวม ผ่านการบูรณาการอย่างเป็นระบบในกระบวนการต่าง ๆ ที่ส่งผลให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีขึ้น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสุขภาพ และเชื่อมั่นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมากขึ้น ส่งผลให้โรงเรียนได้รับรางวัลระดับชาติมากมาย และบรรลุความเป็นเลิศทางการศึกษา

Article Details

How to Cite
อันทรง ค. ., ผ่องสวัสดิ์ ท., นิลโคตร เ. ., & บุญลอย ว. . (2025). การประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงระบบกับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ผู้บริหารสถานศึกษายอดเยี่ยม การจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนบ้านตาเรือง (ตำรวจชายแดนสงเคราะห์). วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(3), 238–251. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7240
บท
บทความวิชาการ

References

กรมอนามัย. (2560). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2558). (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คมกริช อันทรง. (2563). คู่มือการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านตาเรือง (ตำรวจชายแดนสงเคราะห์). จันทบุรี: โรงเรียนบ้านตาเรือง (ตำรวจชายแดนสงเคราะห์).

นพพล โพธิ์เงิน. (2560). การบริหารการศึกษาตามหลักไตรสิกขากับทฤษฎีเชิงระบบ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 4(1), 138-146.

ปธเมศ คำแย้ม และคณะ. (2566). รูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมตามแนวคิดทฤษฎีเชิงระบบของโรงเรียนขนายโอกาสในอำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(7), 373-393.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2545). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก หน้า 16 (19 ธันวาคม 2545).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 1 - 94 (6 เมษายน 2560).

โรงเรียนบ้านตาเรือง (ตำรวจชายแดนสงเคราะห์). (2563). รายงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ประจำปีการศึกษา 2563. จันทบุรี: โรงเรียนบ้านตาเรือง (ตำรวจชายแดนสงเคราะห์).

วนิดา ทองมี. (10 ก.ย. 2567). การบริหารเชิงระบบกับการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา: บทเรียนการขับเคลื่อนสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ผู้บริหารสถานศึกษายอดเยี่ยม โรงเรียนบ้านตาเรือง (ตำรวจชายแดนสงเคราะห์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. (คมกริช อันทรง, ผู้สัมภาษณ์)

สมบูรณ์ นาควิชัย. (2560). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 2(2), 16-29.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารับรางวัลทรงคุณค่าสพฐ. (Obec Awards). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน. (2556). คู่มือสร้างความเข้มแข็งโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี พ.ศ.2567. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Checkland, P. (1999). Systems thinking, systems practice: A review of soft systems methodology. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.

Forrester, J. W. (1961). Industrial dynamics. Cambridge, MA: MIT Press.

Meadows, D. H. (2008). Thinking in systems: A primer. White River Junction, VT: Chelsea Green Publishing.

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York: NY: Doubleday.

Sterman, J. D. (2000). Business dynamics: Systems thinking and modeling for a complex world. Boston, MA: Irwin McGraw-Hill.

World Health Organization. (2001). Basic documents. (43rd ed.). Geneva, Switzerland: World Health Organization.