ผลการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เรื่องการเล่นกีตาร์โปร่งโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติการเล่นกีตาร์โปร่งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเล่นกีตาร์โปร่งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย การวิจัยขั้นตอนนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกิจกรรมเสริมหลักสูตร เรื่องการปฏิบัติการเล่นกีตาร์โปร่ง ชนิดแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อแบบทดสอบวัดทักษะปฏิบัติการเล่นกีตาร์โปร่งเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ของลิเคิร์ท (Likert) 5 ระดับและแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการเล่นกีตาร์โปร่งของนักเรียน หลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรมีสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.74
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรกต ธัชศฤงคารสกุล. (2554). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่อง ดนตรีจีนบางหลวง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเจี้ยนหัว อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กฤตธี สีหมนตรี. (2557). สถานการณ์ในการเรียนดนตรีและลักษณะทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพฤติกกรรมการเรียนดนตรีอย่างรับผิดชอบของเยาวชนในโครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางค ศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ขจรศักดิ์ พื้นดอนเค็ง. (2561). การพัฒนาชุดฝึกทักษะปฏิบัติคีย์บอร์ด โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
คมสันต์ วงค์วรรณ์. (2551). ดนตรีตะวันตก. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาพรรณ สุวรรณศุข. (2537). การจัดการโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.
พัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2541). มัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน. วารสารพัฒนาเทคนิคการศึกษา, 11(28), 11-12.
วันวิสาข์ ภูมิสายดอน. (2561). การพัฒนาทักษะการขลุ่ยเพียงออของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตาม รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สมหมาย เปียถนอม. (2551). ความพึงพอใจของนักศึกษาในการได้รับการบริการจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อรรถวัตร ทิพยเลิศ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการปฏิบัติกีตาร์ตามแนวคิดของเดวีส์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.