แรงจูงใจ ระดับการสื่อสารที่มีผลต่อพฤติกรรมการแต่งเครื่องแบบ และการเห็นคุณค่าในตนเองของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจ ระดับการสื่อสาร พฤติกรรมการแต่งเครื่องแบบ และการเห็นคุณค่าในตนเองของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับพฤติกรรมการแต่งเครื่องแบบของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการสื่อสารกับพฤติกรรมการแต่งเครื่องแบบของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการแต่งเครื่องแบบกับการเห็นคุณค่าในตนเองของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสำรวจด้วยแบบสอบถามที่มีคำถามปลายปิดเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล เพื่อทำการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน หาความสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับแรงจูงใจโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 ระดับการสื่อสาร อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 ระดับพฤติกรรมการแต่งเครื่องแบบ อยู่ในระดับสม่ำเสมอ ค่าเฉลี่ย 4.36 ระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.20 ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า แรงจูงใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการแต่งเครื่องแบบของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ที่ .717 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ระดับการสื่อสารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการแต่งเครื่องแบบของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ที่ .554 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง และพฤติกรรมการแต่งเครื่องแบบเชิงบวกกับการเห็นคุณค่าในตนเองของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ที่ .654 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมเสมียนตรา. (2467). ประมวลแบบธรรมเนียมทหาร. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2566 จาก http://medept.crma.ac.th/wp-content/uploads/Data-03/ประมวลแบบธรรมเนียมทหาร.pdf
กรีฑา พรรธนะแพทย์. (2555). เครื่องแบบ ใครคิดว่าไม่สำคัญ. นาวิกศาสตร์, 95(12), 27-33.
ขนิษฐา จิตแสง. (2564). การสื่อสารระหว่างบุคคลในบริบทการศึกษา. วารสาร Journal of Information Science, 39(3), 90-107.
นพดล อินทร์จันทร์. (2567). การศึกษาผลกระทบของรูปแบบเครื่องแต่งกายต่อความพึงพอใจของพนักงาน: กรณีศึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 26(1), 115-125.
วิภาวี วงศ์อนันต์นนท์. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
สุใจ ตั้งทรงสวัสดิ์. (2532). การใช้เพื่อนผู้ให้การช่วยเหลือในกลุ่ม เพื่อการเพิ่มความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.
Arciero, G. & Bondolfi, G. (2011). Selfhood, identity and personality styles. Chichester: John Wiley & Sons.
Barnard, C. I. (1938). The functions of the executive. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Deci, E. & Ryan, R. (1985). Intrinsic motivation and self-determination in human behavior-New York. New York: Plenum Press.
Vansteenkiste, M. & Ryan, R. M. (2013). On psychological growth and vulnerability: basic psychological need satisfaction and need frustration as a unifying principle. Journal of psychotherapy integration, 23(3), 263-280.
Windahl, S. & McQuail, D. (1994). Communication models for the study of mass communications. (2nd ed.). London: Routledge.
Wood, J. T. (2022). Interpersonal communication: Everyday encounters. (6th ed.). Marceline: Walsworth Publishing.