อิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารการตลาด ทัศนคติ และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ที่มีผลต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันติดตามศิลปินเกาหลี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปิดรับการสื่อสารการตลาด ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันติดตามศิลปินเกาหลี 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของลักษณะประชากรกับความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันติดตามศิลปินเกาหลี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเปิดรับการสื่อสารการตลาดกับความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันติดตามศิลปินเกาหลี 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของทัศนคติกับความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันติดตามศิลปินเกาหลี 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงกับความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันติดตามศิลปินเกาหลี และ 6) เพื่อศึกษาอิทธิพลการเปิดรับการสื่อสารการตลาด ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงที่มีผลต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันติดตามศิลปินเกาหลี โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เคยใช้แอปพลิเคชันติดตามศิลปินเกาหลี และมีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน หาความสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะประชากรจำแนกตามอาชีพ รายได้ ที่แตกต่างกันจะมีความตั้งใจใช้แตกต่างกัน ผลการทดสอบสมมุติฐานการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่า การเปิดรับการสื่อสารการตลาด (r = .627) ทัศนคติ (r = .779) และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (r = .776) มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันติดตามศิลปินเกาหลี และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า การเปิดรับการสื่อสารการตลาด ทัศนคติ และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันติดตามศิลปินเกาหลีมีค่าอิทธิพลอยู่ที่ 81.2
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลริสา อากาศวิภาต. (2564). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการชื่นชอบศิลปินเกาหลีของแฟนคลับชาวไทย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จุฑาพร เลื่อนล่อง และคณะ. (2555). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้งานการตลาดเครือข่ายสังคมเพื่อการโฆษณาของธุรกิจบริการในประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณิชชา ยงกิจเจริญ. (2558). การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรม ที่มีต่อศิลปินวง EXO ของกลุ่มแฟนคลับ EXO-L. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เบญจมาศ มุ่งอุ่นกลาง. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการยอมรับการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปัณณทัต จอมจักร์. (2565). อิทธิพลการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี ความพึงพอใจ และความผูกพันที่มีต่อความตั้งใจกลับมาซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่องผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์เพื่อการซื้อสินค้า. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 15(2), 111-129.
ปุณรดา ถาวรจิระอังกูร. (2558). อิทธิพลกลุ่มอ้างอิงที่มีต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟน ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พันธวัช จุลละทรัพย์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้แอปพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง: กรณีศึกษาแอปพลิเคชันวงใน (Wongnai)ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้แอปพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง: กรณีศึกษาแอปพลิเคชันวงใน (Wongnai). ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พีระพัฒน์ แก้วมณี. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้แอปพลิเคชันเป๋าตังผ่านโครงการ ม. 33 เรารักกัน. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 2(3), 134-142.
ภรภัทร ธัญญเจริญ. (2564). พฤติกรรมการเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วรุตม์ มีทิพย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความซื่อสัตย์ภักดีต่อศิลปินเกาหลีของกลุ่มแฟนคลับชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2562). รายงานสรุปสภาพตลาดกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ประจำปี 2562. เรียกใช้เมื่อ 1 มีนาคม 2568 จาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:309035#
เหมือนตะวัน สุทธิวิริวรรณ. (2559). การเปิดรับ ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ชมรายการต่อดิจิทัลทีวีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Ajzen, I. & Fishbein, M. (1975). A Bayesian analysis of attribution processes. Psychological bulletin, 82(2), 261-277.
Ajzen, I. & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. European review of social psychology, 11(1), 1-33.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.
Francis, J. R. (2004). What do we know about audit quality? The British accounting review, 36(4), 345-368.
Hatfield, E. et al. (1994). Emotional contagion. New York: Cambridge University Press.
International Federation of the Phonographic Industry. (2021). International Federation of the Phonographic Industry GLOBAL MUSIC REPORT 2021. Retrieved March 1, 2025, from https://gmr2021.ifpi.org/report
Kotler, P. & Keller, K. (2003). Marketing management. New Jersey: PrenticeHall.
Kotler, P. (1994). Reconceptualizing marketing: an interview with Philip Kotler. European Management Journal, 12(4), 353-361.
Lutz, R. J. (1991). The role of attitude theory in marketing. In H. H. (Eds.), Perspectives in consumer behavior (pp. 317-339). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
McQuail, D. (1987). Mass Communication Theory: An Introduction. (2nd ed.). London: Sage Publications.
Risqiani, R. (2015). Antecedents and consequences of impulse buying behavior. Business and Entrepreneurial Review, 15(1), 1-20.
Salminen, S. et al. (1998). Functional food science and gastrointestinal physiology and function. British journal of nutrition, 80(S1), S147-S171.
Yamane, T. (1967). Sensitized photodimerization of thymine in DNA. Proceedings of the National Academy of Sciences, 58(2), 443-446.