กล้ายางพันธุ์ดี: แนวทางการพัฒนาต้นกล้ายางพาราเพื่อส่งเสริมอาชีพ ในชุมชนกรณีศึกษากลุ่มยางถุงพันธุ์ดี หมู่ที่ 3 บ้านไสเทียม ตำบลปริก อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

อมรทิพย์ ทวีผล
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
เดโช แขน้ำแก้ว
อุดมศักดิ์ เดโชชัย

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการเพาะกล้ายางพาราฯ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเพาะกล้ายางพาราฯ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาต้นกล้ายางพาราเพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มยางถุงพันธุ์ดี หมู่ที่ 3 บ้านไสเทียม ตำบลปริก อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกร และ 2) กลุ่มผู้สนับสนุนเกษตรกร ซึ่งกลุ่มเกษตรกร ได้แก่ครอบครัวกลุ่มยางถุงพันธุ์ดี จำนวน 10 ครอบครัว และกลุ่มผู้สนับสนุนเกษตรกร คือ ผู้สนับสนุนเกษตรกรผู้ดำเนินการการเพาะกล้ายางพารา เพื่อส่งเสริมอาชีพเสริมในชุมชน โดยผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลของการวิจัย 1) วิธีการเพาะกล้ายางพาราฯ พบว่า 1.1) เกษตรกรผู้ดำเนินการการเพาะกล้ายางพารา มีวิธีการเพาะกล้ายางพาราโดยเริ่มตั้งแต่ 1.2) การสร้างแปลงกล้ายางพารา 1.3) การเตรียมดิน 1.4) การวางแผนผังแปลงกล้ายางพารา เสร็จจึงเริ่มต้นการปลูก การกำจัดวัชพืช และการใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงกล้ายาง 2) สภาพปัญหาในการเพาะกล้ายางพารา กรณีศึกษากลุ่มยางถุงพันธุ์ดี ฯพบว่า มีสภาพปัญหาในการเพาะกล้ายางพาราบางประการคือ 1) ปัญหาโรคระบาด 2) ปัญหาภัยธรรมชาติ 3) ปัญหาเงินทุนหมุนเวียน 4) ปัญหาการซื้อขายต้นกล้ายางพารามักมีราคาแพง 3) แนวทางส่งเสริมการพัฒนาต้นกล้ายางพารา กรณีศึกษากลุ่มยางถุงพันธุ์ดี หมู่ที่ 3 บ้านไสเทียม ตำบลปริก อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า มีแนวทางส่งเสริมการพัฒนาต้นกล้ายางพารา คือ 3.1) แนวทางส่งเสริมแก้ไขปัญหาโรคระบาด 3.2) แนวทางส่งเสริมการดูแลรักษาพันธุ์กล้ายางพาราต่อภัยธรรมชาติ 3.3) แนวทางส่งเสริมการจัดการเงินทุนหมุนเวียน 3.4) แนวทางส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร เวทการ. (2556). การศึกษากระบวนการเข้าสู่กลุ่มอาชีพเสริมของชุมชนในเขตเทศบาลตาบลลาดชะโด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. มหาวิทยาลัยบูรพา.

การยางแห่งประเทศไทย. (2563). ประกาศการยางแห่งประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www.raot.co.th

ไทยรัฐออนไลน์. (2561). คนติดตายาง. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤศิจากยน 2563 จาก https://www.thairath.co.th/news/local

นุชนารถ กังพิสดาร. (2553). การใช้ปุ๋ยยางพาราตามค่าวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ประสิทธิ์ กาญจนา. (2555). ยางพารากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และระบบเศรษฐกิจของเกษตรกรชาวสวนยางพาราภาค. เรียกใช้เมื่อ 14 ตุลาคม 2562 จาก https://www.gotoknow.org/posts

พนม เกิดแสง. (2554). สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2562 จาก http://www.eto.ku.ac.th/media/index.html

วีระวัฒน์ เพ็ชรฉกรรจ์. (2560). กล้ายางพาราระยองดอทคอม. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2562 จาก https://www.xn--12cma0ibfl2ezaqb7y.com/

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2559). ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวัฒน์ เปี่ยมปัจจัย. (2557). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม:การบริหารจัดการปัญหาแห้งแล้ง. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 57(1), 53-67.

อารมณ์ โรจน์สุจิตร. (2541). โรครากขาวของยางพาราและแนวทางการควบคุมโดยชีววิธี. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อาร์วายทีไนน์. (2561). เปิดนวัตกรรมใหม่ขยายพันธุ์ยาง (ออนไลน์). เรียกใช้เมื่อ 14 ตุลาคม 2562 จาก https://www.ryt9.com/s/nnd/2885876

อิสราพันธ์ ซูซูกิ. (2548). การศึกษาอาชีพเสริมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเทศบาลตำบลลานชะโด. เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2562 จาก http://digital_collect.