ปัจจัยการเลือกผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดสิงห์บุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการเลือกผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดสิงห์บุรี 2) เปรียบเทียบปัจจัยการเลือกผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดสิงห์บุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสิงห์บุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 165,459 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ได้มาจากเปิดตารางสำเร็จรูปของทาโร่ยามาเน่ ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย ค่าเอฟ ค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการเลือกผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดสิงห์บุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า การประเมินและการจัดลำดับผู้รับเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง อยู่ในระดับปานกลาง การสร้างหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกตั้ง อยู่ในระดับปานกลาง และการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบปัจจัยการเลือกผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดสิงห์บุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศที่แตกต่างกันมีปัจจัยการเลือกไม่แตกต่างกัน อายุที่แตกต่างกันมีปัจจัยการเลือกไม่แตกต่างกัน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีปัจจัยการเลือกไม่แตกต่างกัน อาชีพที่แตกต่างกันมีปัจจัยการเลือกไม่แตกต่างกัน และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีปัจจัยการเลือกไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสิงห์บุรี. (2568). ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสิงห์บุรี. เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.ect.go.th/mini//web-upload/68x1f64abf29304e3b1424156270e85cbfb/m_document/3792/26639/file_download/a50907c095447c7b59071e95921809af-copy85.pdf
ชนะ ภิญโญ. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการลงคะแนนเสียงเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (กรณีศึกษาเขตการเลือกตั้งอำเภอเมืองชลบุรี เขต 2 จังหวัดชลบุรี). ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชูศักดิ์ คำล้น. (2563). ภาคีเครือข่ายกับกลไกการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(12), 389-402.
ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์. (2561). การทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 72-81.
ณัฐวดี เสนขำ เเละคณะ. (2567). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ กรณีศึกษา ประชาชนในอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
น้ำเพชร พิพัฒน์สุริยะ. (2567). ปัจจัยที่มีผลในการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2566 เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดสตูล. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง. มหาวิทยาลัยสยาม.
ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์. (2561). ทิศทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคต. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3(2), 183-196.
พระสิริรัตนเมธี เเละคณะ. (2564). การเลือกตั้งท้องถิ่นกับการพัฒนาประชาธิปไตย. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 384-396.
พัชรภรณ์ เมธาจีรเวช. (2563). การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจออกมาเลือกตั้งของผู้มีสิทธิ ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วรยุทธ สถาปนาศุภกุล. (2560). ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประชาชนปรารถนา. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 2(2), 141-148.
สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม เเละคณะ. (2562). ทัศนคติของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่น กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสาร มจร. หริภุญชัยปริทรรศน์, 3(1), 10-19.
หัชชากร วงศ์สายัณห์. (2560). ระบบคุณค่าในวัฒนธรรมการเลือกตั้งท้องถิ่น. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(2), 187-209.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.