แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของมหาวิทยาลัยในเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน

Main Article Content

WANG SHIQI
กุสุมา แย้มเกตุ
จตุพล ยงศร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของมหาวิทยาลัยในเสฉวนสาธารณรัฐประชาชนจีน 2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยจำแนกตามเพศ ชั้นปี พื้นฐานการเรียนภาษาไทย และแผนการเรียนที่ประเทศไทย และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษาที่ศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยของมหาวิทยาลัยในเสฉวนสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามทัศนคติของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบเอฟ และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยได้พบว่า 1) นักศึกษามีทัศนคติต่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยโดยรวมอยู่ในระดับน้อย 2) เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติจำแนกตามตัวแปรต่าง ๆ พบว่า นักศึกษาเพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษาชั้นปีต่างกันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักศึกษาที่มีพื้นฐานการเรียนภาษาไทยต่างกันและแผนการเรียนที่ประเทศไทยต่างกันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษาเห็นว่า การเรียนการสอนต้องปรับปรุงในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านบทบาทอาจารย์ และด้านการวัด และการประเมินผลอยู่ในระดับน้อยที่สุด ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยคือ ควรเพิ่มกิจกรรมที่มีการสื่อสารกับเจ้าของภาษาและกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อเพิ่มโอกาสในการสื่อสารภาษาไทยในชีวิตประจำวันของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเสฉวนสาธารณรัฐประชาชนจีน

Article Details

How to Cite
SHIQI, W. ., แย้มเกตุ ก. ., & ยงศร จ. . (2025). แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของมหาวิทยาลัยในเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(6), 285–296. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8324
บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา ขจรชีพ. (2557). แบบเรียนสนทนาภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับผู้เรียนชาวจีน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 16(1), 137-149.

จินดารัตน์ ธรรมรงวุทย์. (2553). ข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม: กรณศกษาการใชภาษาไทยของผพดชาวอเมรกนและชาวจน. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยางวอน ฮยอน. (2560). การปฏิสัมพันธ์ของชาวเกาหลีที ่ใช้ภาษาไทยและชาวไทยในบริบทธุรกิจ: การศึกษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์อันตรภาษาและวัจนปฏิบัติศาสตร์ระหว่าง วัฒนธรรม. ใน ดุษฎีนิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers Inc.

Crystal, D. (2003). English as a global language. (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.

Cummins, J. (2014). มิติข้ามภาษาของความสามารถทางภาษา: นัยสำหรับสองภาษา การศึกษา และ เดอะ เหมาะสมที่สุด อายุ ปัญหา. ระหว่างประเทศ วารสาร ของ สองภาษาการศึกษาและการใช้สองภาษา, 17(1), 3-25.

Ferguson, G. A. (1981). Statistical analysis in psychology and education. (5th ed.). New York: McGraw-Hill.

Kramsch, C. (1998). Language and culture. Oxford: Oxford University Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 1-55.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Phongphithet, P. & Intaraprasert, C. (2020). Thai as a lingua franca: Communication strategies of international students in Thailand. LEARN Journal: Language Education and Acquisition Research Network, 13(2), 184-202.

Savignon, S. J. (2017). Communicative competence and communicative language teaching: Perspectives and concerns. In E. Hinkel (Ed.), Handbook of research in second language teaching and learning (pp. 115-130). New York: Routledge.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Yin, Y. et al. (2021). A study of Chinese students’ choices of majors in Thailand. Chiang Mai: Chiang Mai University.