การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากของกลุ่มอาชีพเกษตรกรบ้านห้วยแหยง ตำบลท่าประจะ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ศศิธร สงศิริ
ไพรัตน์ ฉิมหาด
ปุญญาดา จงละเอียด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากของกลุ่มอาชีพเกษตรกรบ้านห้วยแหยง ตำบลท่าประจะ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากของกลุ่มอาชีพเกษตรกรบ้านห้วยแหยง ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยการคัดเลือกจากวิธีการใช้แบบสอบถาม ระบุกลุ่มประชากรจำนวน 6, 088 คน ใช้วิธีการเลือกแบบโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 363 คน การวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้เทคนิคเชิงพรรณนา เชิงปริมาณใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (equation) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากของกลุ่มอาชีพเกษตรกรบ้านห้วยแหยง ตำบลท่าประจะ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (equation = 4.00) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านพัฒนาทักษะและการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (equation = 4.23) รองลงมา ได้แก่ ด้านการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (equation = 4.16) ด้านการสนับสนุนนวัตกรรม (equation = 3.98) ด้านการประชาสัมพันธ์ (equation = 3.87) และด้านการสร้างพันธมิตรและเครือข่าย มีค่าเฉลี่ยในระดับน้อย (equation = 3.74) 2) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากของกลุ่มอาชีพเกษตรบ้านห้วยแหยง ตำบลท่าประจะ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ควรส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานให้เข้มแข็งเพื่อรองรับการพัฒนา ด้านเครือข่ายควรสร้างความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อขยายศักยภาพ การสนับสนุนนวัตกรรมควรเน้นสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นการพัฒนา และการประชาสัมพันธ์ควรหลากหลายรูปแบบเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน

Article Details

How to Cite
สงศิริ ศ. ., ฉิมหาด ไ. ., & จงละเอียด ป. . (2025). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากของกลุ่มอาชีพเกษตรกรบ้านห้วยแหยง ตำบลท่าประจะ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(6), 297–307. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/8325
บท
บทความวิจัย

References

ชยาพร วัฒนศิริ และคณะ. (2553). "การวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของผักเกษตรอินทรีย์". ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฑิตยา สุวรรณชฎ. (2558). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณ.

ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์. (2547). แนวคิดแบบการพัฒนาชุมชน. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ทิศานาถ ขุนนาถ. (2557). แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นันทนีย์ กมล ศริพิชัยพร. (2567). การพัฒนาฐานคิดและความหมาย. เรียกใช้เมื่อ 5 มีนาคม 2567 จาก https://shorturl.asia/Ck2hU

ประสิทธิ์ สวาสดิ์ญาติ. (2567). การพัฒนาฐานคิดและความหมาย. เรียกใช้เมื่อ 5 มีนาคม 2567 จาก https://shorturl.asia/Ck2hU

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. (2561). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก หน้า 18 (13 ตุลาคม 2561).

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2567). เศรษฐกิจฐานราก. เรียกใช้เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://web.codi.or.th/development_project/20201125-20029/

สนธยา พลศรี. (2533). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.